วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้านนี้ ความจริง มีเนื้อหาค่อนข้างยาว หรือบางเรื่องก็ยาวมาก ขนาดหมอลำ ลำทั้งคืนยันสว่าง ยังไม่จบ นั่นแหละ หากเล่าให้ละเอียดได้ ก็เป็นการดีทีเดียว แต่หากละเอียดไม่ได้ ก็คงเป็นเพียงเรื่องย่อ เพื่อให้รู้ว่า นิทานเื่รื่องนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร
นิทานพื้นบ้าน หรือนิทานชาวบ้าน เป็นสาขาสำคัญของคติชาวบ้าน เป็นที่สนใจของนักปราชญ์ นักศึกษาวิชามานุษยวิทยาและวิชาการอื่นๆ เป็นอันมาก การเล่านิทานเป็นเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน (และยังมีนิทานเล่าว่า แม้เทวดาก็ชอบฟังนิทาน ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันจะถูกเทวดาแช่ง เพราะเวลากลางวันเทวดาต้องไปเฝ้า พระอิศวร ไม่มีโอกาสไปชุมนุมกันฟังนิทานที่มนุษย์เล่านั้นด้วย) ถึงแม้ว่าเรื่องในนิทานจะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของโลก แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมในการเล่านิทานของมนุษย์เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด นั่นก็คือ มนุษย์เราทั่วไปต้องการเครื่องบันเทิงใจในยามว่างงานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นเหตุผลเนื่องมาแต่ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ และเป็นต้นเหตุให้มีนิทานขึ้นมากมาย

[แก้ไข] ลักษณะเฉพาะของนิทานพื้นบ้าน
จะต้องเป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ใช้ภาษาชาวบ้านทั่วไป
เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน กฏว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม เป็นแต่รู้ว่าเคยได้ยินได้ฟังมา หรือเขาเล่าว่าหรือบรรพบุรุษเป็นผู้เล่าให้ฟัง

[แก้ไข] ประเภทของนิทาน
มีผู้ศึกษานิทานและพยายามจัดหมวดหมู่หรือแบ่งแยกเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ซึ่งแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
แบ่งนิทานตามเขตพื้นที่ คือ พบนิทานที่ถิ่นใดก็เป็นของถิ่นนั้น เช่น เขตอินเดีย เขตประเทศนับถือศาสนาอิสลาม เขตชนชาติยิวในเอเซียไมเนอร์ เป็นต้น
แบ่งนิทานตามแบบของนิทาน แบ่งออกได้ ดังนี้
นิทานปรัมปรา
นิทานท้องถิ่น แยกย่อยเป็น
นิทานอธิบายสิ่งต่าง ๆ
นิทานเกี่ยวกับความเชื่อ
นิทานวีรบุรุษ
นิทานนักบวช
นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้
นิทานสอนใจ
เทพนิยาย
นิทานสัตว์ แบ่งเป็น
นิทานสอนคติธรรม
นิทานเล่าไม่รู้จบ
นิทานตลก
แบ่งนิทานตามชนิดของนิทาน เป็นการแบ่งตามแบบที่ 2 ที่แบ่งให้ย่อยแต่ละชนิดละเอียดลงไปอีก
แบ่งนิทานตาม สารัตถะ ของนิทาน หมายถึงการพิจารณาที่ "แก่น" (element) ของนิทาน เป็นหลัก ในการจัดหมวดหมู่นิทาน การแบ่งโดยใช้ "แก่น" ของนิทานนี้จะแบ่งได้ละเอียดที่สุดในที่นี้จะกล่าวถึงนิทานชาวบ้านตามแบบที่ 2 เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้และเข้าใจได้ดี นิทานก้อม หมายถึง นิทานขนาดสั้นหรือเป็นตอนๆ เป็นนิทานพื้นบ้านของชาวอีสาน
นิทานพื้นบ้านอีสาน และเรื่องราวท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ที่เล่าต่อกันมา อาจมีบันทึกใน คัมภีร์ใบลาน ที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ พอหาได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนด้วยตัว อักษรธรรม หรือตัวไทยน้อย
ตัวอย่างนิทานพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดี
แก้วหน้าม้า

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีหญิงสาวหน้าตาเป็นม้า ชื่อ แก้วมณี เหตุที่ชื่อนี้ เมื่อก่อนคลอด แม่ของนาง ฝันเห็นเทวดานำดวงแก้วมณีมาให้ จึงตั้งชื่อนี้ แก้วมณีเป็นหญิงมีน้ำใจโอบอ้อมอารี เป็นมิตรกับทุกคน ครั้งหนึ่งเมื่อนางไปเลี้ยงควายมีว่าวของพระปิ่นทองลอยมาตกต่อหน้านาง พระปิ่นทองตามมาเอาคืน อย่างไรก็ไม่ได้ จนกระทั่งพระปิ่นทอง หลุดปากออกว่าจะรับนางเป็นเมียใจจริงพระปิ่นทองเกลียดนางแก้วยิ่งนัก นางจึงคืนให้ และสั่งต่อมาจะมารับภายใน 3 วัน นางคอยแล้วคอยเล่าก็มิเห็นแม้เงา พ่อกับแม่จึงจะเข้าวังหลวง ไปทวงสัญญา พระนางนันทา แม่ของพระโอรสปิ่นทองเห็นดีจึงให้เข้าวังมา ด้วยวอทอง ต่อมาไม่นานท้าวภูวดล พ่อของพระปิ่นทองซึ่งเกลียดนางแก้วมณีมาก มีคำสั่งให้นางนั้นไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในวัง มิอย่างนั้น จะถูกประหารและไม่ได้แต่งงานกับปิ่นทอง เพราะรักพระปิ่นทองนางจึงจำใจไป หนทางนั้นลำบากมาก จนไปถึงอาศรมฤาษี ฤาษีสอนมนต์ถอดหน้าม้าเป็นหญิงสวยได้ พร้อมอาวุฒมีดอีโต้กับเรือเหาะ และชี้ทางไปเขาพระสุเมรุ และนางก็นำกลับวัง แต่สายไป พระปิ่นทองได้เดินทางไปแต่งงานกับ พระธิดาธัศมาลี แห่งเมืองโรมวิถี นางจึงถอดหน้าม้าตามไป และได้เสียกับพระปิ่นทอง ระหว่างทางกลับผ่านเมืองยักษ์ แก้วแปลงกายเป็นชายสู้กับยักษ์จนตาย และยกนาง สร้อยสุวรรณ และจันทร์สุดา เป็นเมียพระปิ่นทองและกลับเมือง นางแก้วมีลูกชื่อ ปิ่นแก้ว พระปิ่นทองจึงรับรักนางแก้วมณีตั้งแต่นั้นมา
*** นิทานอีสานฉบับนี้ สอนให้รู้ว่า อย่าดูคนแต่เพียงภายนอก รูปร่างหน้าตา ให้ดูลึกถึงจิตใจ
อุทัยเทวี ( นางพญาขี้คันคาก )

ณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง ต่อมาไม่นานนจางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย เจ้าชายสิทธิราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน
ข้อคิด คติเตือนใจ
คนเราหมั่นทำความดีไว้เยอะๆ เป็นสมบัติไว้ใช้ในชาติต่อไป
ความแค้นไม่เคยจบเคยสิ้น ฉะนั้นเราคนไทย อย่าไปมีอคติกับใคร
ปลาร้า ยังคงความแซบอยู่ทุกยุคทุกสมัย
คู่กันแล้วไม่คล้วกัน
ปลาบู่ทอง

ชายหาปลาคนหนึ่งมีเมีย 2 คน เมียหลวงมีลูกสาวชื่อเอื้อย เมียน้อยมีลูกสาวชื่ออ้าย และอี่ วันหนึ่งชายหาปลาจับได้ปลาบู่ทอง เมียหลวงถูกสามีฆ่าตาย ไปเกิดเป็นปลาบู่ทองหามาเอื้อยลูกสาวของตน แต่ก็ถูกเมียน้อย และลูก ๆ กลั่นแกล้งจับมากิน เอื้อยได้เกล็ดปลาไปปลูกเป็นต้นมะเขือก็ถูกถอนไปกินอีก จึงนำเม็ดมะเขือมาปลูกเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง ท้าวพรหมทัตเสด็จมาพบและได้พบกับเอื้อยทรงพอพระทัยนางมากจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสี ต่อมาถูกฆ่าตายไปเกิดเป็นนกแขกเต้าฤาษีได้ช่วยไว้และชุบให้เกิดเป็นดังเดิม เอื้อยจึงได้กลับเข้ามาอยู่ในวังหลวง ส่วนอ้ายซึ่งปลอมตัวเป็นเอื้อยถูกสั่งให้ประหารชีวิต
และนอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้านอีกมากมาย เช่น เรื่องนางผมหอม, ทุ่งกุลาร้องไห้, ผาแดงนางไอ่ ฯลฯ

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย โดย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร

การแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และใกล้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยประเทศไทยมีการแพทย์สองอย่าง คือ ๑. การแพทย์พื้นบ้าน ชาวบ้านได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน ขณะนี้ประชาชนจำนวนมากก็ยังใช้กันอยู่ ปัจจุบันเรียกว่า การแพทย์แผนโบราณไม่ได้ใช้ว่า "การแพทย์เดิมหรือการแพทย์พื้นบ้านของไทย" ๒. การแพทย์แผนปัจจุบันนำเข้ามาโดยชาวตะวันตก เรียกกันในขณะนี้ว่า "การแพทย์แผนปัจจุบัน" การแพทย์แผนโบราณอาจเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ขณะที่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันรู้จักอยู่กันเป็นหมู่เหล่า รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จากผลของการขุดค้นพบว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้และรวมกันเป็นหมู่เหล่านั้น จะปรากฏเมื่อประมาณ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ร่องรอยที่เชื่อว่าอาจมีบุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นหมอหรือแพทย์ ก็คือ การพบสัญลักษณ์ที่อาจสันนิษฐานได้ว่าเกี่ยวเนื่องกับการเจ็บป่วย คือในโครง ที่ B.๑๐ หลุม BKI ที่ขุดโดยคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
โครงนี้นอกจากจะมีเครื่องปั้นดินเผา ขวานหิน เปลือกหอยแล้ว ยังมีวัตถุอื่นที่แปลกออกไปจากโครงอื่นๆ อีก ๒ อย่าง ชิ้นหนึ่ง เป็นแผ่นหินรูปกลม มีรูเจาะตรงกลาง ขอบค่อนข้างคม มีรอยชำรุดเล็กน้อย และมีรอยกะเทาะค่อนข้างชัดเจน ๒ รอย ผิวขัดเล็กน้อยให้เรียบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕.๑ เซนติเมตร รูที่เจาะกว้าง ๗.๑ เซนติเมตร ขนาดของรูไม่โตพอที่จะสอดเข้าไปในแขนได้ อีกชิ้นหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขากวางข้างหนึ่ง (Cervus unicolor equinus) กิ่งแรกที่แยกออก (กิ่งรับหมา) ได้ถูกตัดออกไป ที่รอยตัดถูกทำให้เป็นรูกลวง ส่วนของเขาที่ต่อขึ้นไปถูกทำให้เกลี้ยง แล้วตัดที่ปลายกิ่งที่แยกออกไป ๒ กิ่ง ถัดเข้ามาเป็นรอยควั่น ขนานกับรอยตัดกิ่ง ทำให้เป็นรูเช่นเดียวกับกิ่งแรกขนาดยาว ๓๒.๕ เซนติเมตร ในรายงานสมบูรณ์ นายซอเรนเซน (Mr.Sorensen) แจ้งว่า ไม่ทราบว่าใช้สำหรับทำอะไร แต่ในรายงานย่อยสันนิษฐานว่าโครงที่พบกับเครื่องมือดังกล่าวอาจทำหน้าที่เป็นหมอ และเขากวางใช้ในการพิธีรักษา ต่อมาในการ ขุดค้นที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นโครงของสมัยทวารวดี ก็ได้พบอีกชั้นหนึ่งแต่ชำรุด ชิ้นที่ ๓ ชาวบ้านขุดค้นได้จากหมู่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นของยุคสำริด เป็นเขาของกวางขนาดใหญ่ มีขนาดยาวเพียง ๑๕ เซนติเมตร มีรอยตัดทั้งกิ่งรับหมาและกิ่งที่ต่อขึ้นไป แต่ไม่ยาวไปถึงส่วนที่จะแบ่ง เช่นที่พบที่หมู่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ชิ้นที่ ๔ พบที่ ตำบลโพธิ์หัก จังหวัดราชบุรี การพบนี้อาจจะมีคำโต้แย้ง เพราะโครงกระดูกทั้ง ๔ แห่งนี้ได้มีประเพณีนำส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ไปทำเป็นเครื่องเซ่น สัตว์ที่พบมากก็คือหมู โดยมากใช้ส่วนหัวของหมู พบได้เป็นจำนวนมากกับโครงกระดูกที่ขุดพบ แต่เขากวางเป็นของพบได้น้อย และส่วนที่เป็นเขาก็ไม่ได้ใช้เป็นอาหาร การใช้เขากวางจึงเป็นเหมือนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นเครื่องใช้สอยถูกนำไปวางไว้เป็นเครื่องเซ่น การใช้เขากวางเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแพทย์ ได้พบเป็นรายงานอีกแห่งหนึ่ง คือ การเขียนรูปแพทย์ (medical man) หรือหมอผี (witch doctor) ที่ผนังของถ้ำในเทือกเขาพีรีนีส (Pyrenees) มีชื่อว่า ถ้ำเลส์ ตรัวส์ แฟรร์ (Les Trois Freres) อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ภาพที่เขียนเป็นภาพคน คลุมด้วยหนังของสัตว์ชนิดหนึ่ง มีส่วนขาและแขนเขียนลายเป็นแถบๆ แต่ที่หัวมีเขากวางติดอยู่ ประมาณว่าเป็นภาพที่เขียนในสมัย โอริกเนเซียน (Aurignacian) ในตอนกลางของทวีปยุโรป
จากข้อความดังกล่าว ประกอบกับคำอธิบายเป็นส่วนตัว จาก นายซอเรนเซน สันนิษฐานว่าเขากวางที่พบในประเทศไทยนั้น อาจใช้แต่งประกอบกับศีรษะของหมอผี หรือรูปสลักเป็นรูปคน แล้วเอาเขากวางที่ตัดตกแต่งแล้วไปประดับ ไม่ใช่เขากวาง ทั้งชิ้นประดับเช่นในรูป
การพบนี้อาจมีความสำคัญเกี่ยวกับการสืบเนื่องถึงพิธีกรรม ที่อาจทำสืบต่อกันมาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (ประมาณ ๔,๐๐๐ ปี) ถึงสมัยทวารวดี ที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (๑,๒๐๐ ปี) หลักฐานประการที่ ๒ ที่แสดงว่าได้มีการรักษากันจริงๆ ก็ คือ การเจาะกะโหลกให้เป็นรูทะลุ ซึ่งศัพท์แพทย์ใช้ว่า ทรีไฟนิง (trephining) หรือ ทรีแพนนิง (trepanning) พบที่บ้านธาตุ ใกล้บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเป็นโครงกระดูกสมัยเดียวกัน คือ สมัยสำริด หรือสมัยโลหะ รูที่พบอยู่ทางด้านซ้ายของกะโหลกในบริเวณขมับ ซึ่งเป็นกระดูกเทมปอรัล (temporal bone) มีขนาด ๙ x ๑๐ มิลลิเมตร อยู่สูงจากรูหู ๔๐ มิลลิเมตร การเจาะรูในกะโหลกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหลายแห่งของโลก มนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก็ทำกัน พบได้หลายแห่ง พบมากในประเทศฝรั่งเศส พบได้บ้างในประเทศออสเตรีย โปแลนด์ รัสเซีย เยอรมนี และสเปน นอกจากทวีปยุโรปยังพบในบริเวณที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบในอเมริกาเหนือและใต้ ในแอฟริกาและเอเชีย เป็นการรักษาที่ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะทำการ รักษาเมื่อมีหลอดโลหิตแตกในกะโหลก หรือเจาะแล้วเปิดกะโหลกให้กว้าง เพื่อรักษาก้อนทูมหรือหลอดเลือดที่แตกลึกเข้าไปในเนื้อสมอง แต่การกระทำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจทำเพื่อปล่อยสิ่งที่บุคคลในสมัยนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดการปวดศีรษะอย่างแรง หรือทำให้ผู้ป่วยเป็นลมบ้าหมู หลักฐานเกี่ยวกับหมอผี และการรักษาซึ่งถือเป็นการแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยคงพบได้เพียง ๒อย่างตามที่กล่าว แต่โรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกหลายโรค แต่การศึกษายังไม่กว้างขวางพอที่จะกล่าวในขณะนี้ได้ ในการขุดค้นที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบหลักฐานการเป็นโรค คือ ๑. มีกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่ ๑ หัก พบหนึ่งโครง (B.K.I, B.I) มีผลทำให้ส่วนตัวของกระดูก (body) แฟบลงไป และทำ ให้ข้อต่อของกระดูกสันหลังติดกัน เคลื่อนไหวไม่ได้ดี (spondylosis) ๒. มีฟันผุและมีรอยลึกในด้านเคี้ยวมากกว่าปกติ ๓. มีกระดูกกะโหลกหนาที่บริเวณกระดูกพาไรอีตัล(parietal bone) บางโครงหนาถึง ๑๑ มิลลิเมตร หนาเนื่องจากเนื้อฟองน้ำหนาขึ้นและชิ้นกระดูกฟองน้ำมีเนื้อหยาบ เกิดจากโรคโลหิตจางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งยังไม่อาจยืนยันได้ว่าเกิดจากเป็นโรคเนื่องจากสีเลือดหรือไม่ ขณะนี้กำลังศึกษาและค้นคว้าต่อไป พร้อมกับโครงกระดูกที่แสดงการรักษาด้วยวิธีเจาะกะโหลก ได้พบโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อตะโพกข้างซ้าย ให้คำสันนิษฐานว่าเป็น โรคเปอร์ที (Perthe's disease) อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนหัวและส่วนคอของกระดูกต้นขาข้างนั้น ส่วนหัวหายไปหมด คงเหลือแต่ส่วนคอเพียงเล็กน้อย และมีผลทำให้หลุมที่รับหัวกระดูกต้นขา (acetabulum) เล็กและตื้น จากแหล่งที่มีการขุดค้นเกี่ยวกับเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ อาจพบโรคอื่นๆ ได้อีก แต่ยังไม่มีรายงานเป็นหลักฐานและอาจมีโรคอะคอนโดรเพลเซีย (Achondroplasia) ซึ่งเป็นโรคสืบต่อกันมาทางพันธุกรรมเป็นกับโครงหนึ่งในสมัยทวารวดีที่ตำบลภูขี้เบ้า จังหวัดขอนแก่น แต่ยังขาดหลักฐาน คือ กระดูกไม่ได้ถูกขุดขึ้นมาตรวจอย่างละเอียด เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่ในประเทศไทยยังมีอยู่น้อย จึงอาศัยรายงานจากต่างประเทศมาเสริมเพื่อให้เห็นว่า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยก็คงไม่แตกต่างกันมากไปจากมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ ของโลก จึงอาจจะมีโรคต่างๆ ได้เช่นกัน ร่องรอยแรก ที่แสดงการเป็นโรคในมนุษย์ซึ่งยอมรับกันทั่วไปก็คือ กระดูกต้นขาของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลกเมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งพบโดย ดร.ดูบัวส์ (Dr.D. Dubois) เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ ที่เกาะชวา ที่มีชื่อเดิมว่า ปิธีแคนโทรปุส อีเร็กตุส (Pithecanthropus erectus) ขณะนี้เรียกว่าโฮโม อีเร็กตุส (Homo erectus) เพราะยอมรับในการมีลักษณะของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสกุล (genus) เดียวกับมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสกุลโฮโม กระดูกต้นขาที่พบมีบริเวณใกล้ปลายบน มีกระดูกงอกยื่นออกไปเป็นปุ่มป่ำ บางคนให้เป็นกระดูกงอกธรรมดา บางคนให้เป็นก้อนทูมของกระดูก (osseous tumour) ในมัมมี่ของชาวอียิปต์ พบโรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) และโรครูมาติสม์เรื้อรัง (chroniceumatism) โรคเกาต์ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี วัณโรคของกระดูกสันหลังและพบร่องรอยของการอักเสบที่เป็นมาก่อนของไส้ติ่ง แล้วมีเนื้อเยื่อพังผืดมายึดติดล้อมรอบ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปี มนุษย์ที่อาศัยในดินแดนที่เป็นประเทศไทยเจริญขึ้น เปลี่ยนจากการใช้หินเป็นวัตถุทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับมาเป็นสำริด และเหล็ก หลักฐานเกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือการแพทย์มีน้อยมาก จากความรู้ปัจจุบันในการสะเดาะเคราะห์ผู้ป่วย หมอทางไสยศาสตร์มักทำพิธี เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปคน รูปสัตว์ พร้อมทั้งทำกระทงมีของกินคาวหวาน ผลไม้ จุดธูปเทียน แล้วลอยไปตามน้ำพร้อมกับรูปปั้น แต่ในที่บางแห่งก็ใช้รูปปั้นวางไว้ตามทางสามแพร่ง แล้วหักคอเสีย เป็นพิธีที่เรียกว่า "พิธีเสียกบาล" แต่เท่าที่มีแสดงในภาพ เป็นหญิง ๒ คน คนหนึ่ง ที่กำลังอุ้มเด็กอยู่เป็นคนมีอายุมากกว่าอีกคนหนึ่ง เพราะมีนมคล้อยไปมากอีกภาพหนึ่ง ส่วนที่กำลังอุ้มหักหายไป ทำให้ไม่ทราบว่ากำลังอุ้มอะไรอยู่ ลักษณะของเต้านมกำลังคัด แสดงว่าท้องใกล้คลอดหรือพึ่งคลอดใหม่ๆ ตุ๊กตาทั้งสองตัวได้มาจากจังหวัดสุโขทัย ไม่ทราบประวัติ แต่ที่ต้องนำเรื่องเกี่ยวกับสุโขทัยมากล่าวก่อน ก็เนื่องจากในการทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีฉีดน้ำเข้าไปทำลายดินที่มีดีบุกปะปนอยู่ (เหมืองฉีด) ที่จังหวัดราชบุรีใกล้เขตแดนประเทศพม่า ได้พบตุ๊กตาทำด้วยดินเผา ปั้นไม่มีหัว แต่ที่บริเวณคอทำกลวงลงไป คล้ายทำไว้สำหรับเสียบหัว พบ ชัดเจน ๓ ตัว ตัวหนึ่งทำคล้ายเป็นรูปคนนั่งพนมมือ อีกตัวหนึ่งทำเป็นรูปคล้ายคนยืน แต่ส่วนขาหักไป ที่มือคล้ายถืออะไรอยู่ บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร รูปที่ปั้น ปั้นได้สวยงามมากก็คือ รูปคนขี่ม้าไม่มีหัว มีคอกลวงเหมือน ๒ ตัวแรก แต่รูปม้าทำเป็น ๒ ซีกประกบกัน ของที่พบที่เหมืองแร่ใกล้พรมแดนพม่านี้ แม้ขณะนี้จะยังไม่ทราบแน่ว่าอยู่ในสมัยที่ใช้วัตถุอะไรทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ แต่เนื่องจากได้พบเครื่องมือสมัยหินใหม่จำนวนมาก และมีเครื่องสำริดบ้างเล็กน้อย ทำให้สันนิษฐานว่า หลังจากการใช้สัญลักษณ์เป็นเขากวางแล้ว การรักษาการป่วยไข้ ในสมัยต่อมา ได้มีรูปปั้นสะเดาะเคราะห์ผู้ป่วยใช้ด้วย และประเพณีนั้นได้สืบต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐) ถัดขึ้นไปจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยอยู่ในสมัยใกล้ประวัติศาสตร์ (Protohistory) คือสมัยทวารวดี (พ.ศ. ๑๐๐๐ - ๑๕๐๐)หลักฐานเกี่ยวกับการแพทย์คือ การพบเขากวาง ที่ตำบลทัพหลวง จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีลักษณะเหมือนที่พบที่บ้านเก่าตามที่ได้กล่าวมา ขณะนี้ยังไม่มีร่องรอยของหลักฐานอื่นๆ ในระยะเวลานี้ประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศใกล้เคียง ประเทศที่ติดต่อกันมากควรจะเป็นประเทศอินเดีย เพราะนอกจากการแพร่ของพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยอาจรับลัทธิฮินดูพร้อมกับศิลปะวิทยาอื่นๆ เข้ามาด้วย ซึ่งอาจจะมีวิชาการแพทย์อยู่ด้วย จึงน่าจะได้พิจารณาการแพทย์ของประเทศอินเดียในสมัยนั้น ซึ่งอาจจะเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะประเทศไทย ได้รู้จักบุคคลสำคัญในทางแพทย์ของประเทศอินเดียคือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ดีเท่ากับคนอินเดียส่วนมาก นอกนั้นก็มีบันทึกเกี่ยวกับปรัชญาและวิชาการทางวิทยาศาสตร์บ้าง เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์ของอินเดียจะได้กล่าวต่อไป

คิดดี ทำดี

ทำดี เป็นผลต่อเนื่องจากการคิดดี เมื่อจิตใจดีแล้ว การกระทำที่ออกมาก็เป็นแต่เรื่องดี มีแต่จะส่งเสริมให้มีความสุข มีแต่คนอย่างคบหาสมาคมด้วย ส่งเสริมให้เจริญในหน้าที่การงาน มีแต่คนให้ความเคารพ
พูดดี เป็นสัญญาณที่สื่อสารออกมาจากการคิดดี และทำดี เป็นภาษาพูด และภาษากาย การสื่อสารด้วยการพูดดี จะทำให้ผู้อื่นตั้งใจฟังข้อความที่เราจะสื่อออกไป เพราะว่ามีแต่ความหวังดี เป็นมธุรสวาจา และทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันพร้อมทั้งความคิดดีๆ เชื่อไหมใครๆก็อยากฟังคำพูดที่ไพเราะ แต่ต้องออกมาจากใจนะครับ

สมุนไพรพื้นบ้าน

กระชาย สรรพคุณทางยา ใช้ขับลม ช่วยย่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่ แก้อาการปวดมวนในท้อง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ในกระชายประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 2 และ แคลเซียมการนำไปใช้ นิยมใส่ในแกงที่ใช้เนื้อสัตว์กลิ่นคาว เช่น ปลา เนื้อวัว หรือใช้เป็นเครื่องปรุงเพิ่มความหอม เช่น ใส่ในผัดเผ็ด แกงป่า ทำเป็นน้ำยาของขนมจีนน้ำยากระเพรา สรรพคุณทางยา ป้องกันโรคขาดเลือด ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน แก้จุกเสียด ในกะเพราประกอบด้วย เบต้า-แคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัสการนำไปใช้ ใส่ต้มยำโป๊ะแตกเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์ทะเล ใส่ผัดกะเพรา ทอดกรอบแนมกับทอดมัน หรือใส่ในส่วนผสมทอดมัน และแกงป่าโหระพา สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ในโหระพาประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส และเบต้า-แคโรทีนการนำไปใช้ นิยมใส่ในแกงกะทิ แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด หรือใส่ในผัดอย่างหอยลายผัดน้ำพริกเผา นอกจากนี้ยังนิยมกินสดกับลาบ ก้อย น้ำตก และใส่เป็นผักต้มในอาหารอีสานอย่างแจ่วฮ้อน ส่วนอาหารเวียดนามนิยมกินสดแนมกับแหนมเนือง หรือใส่เป็นไส้ผักในเปาะเปี๊ยะเวียดนาม และก๋วยเตี๋ยวเวียดนามที่เรียกว่า เฝอ ในก๋วยเตี๋ยวไทยก็นิยมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเรือหอมแดง สรรพคุณทางยา ขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ในหอมแดงประกอบด้วย เซเลเนียมเป็นเกลือแร่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่างวิตามินดี เอ และซีการนำไปใช้ ใส่ในยำ ลาบ พล่า เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ หรือซอยบางๆ เจียวให้กรอบโรยหน้าขนมหม้อแกง และใส่ในน้ำปลาหวาน ราดไข่ลูกเขย หรือน้ำปลาหวานกินกับสะเดาลวกและปลากดุกย่างสะระแหน่ สรรพคุณทางยา น้ำคั้นจากต้นและใบดื่มแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม หรือกินสดเพื่อดับกลิ่นปาก ขับเหงื่อ นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อ ระงับอาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ ในสะระแหน่ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และ ธาตุเหล็กการนำไปใช้ มักกินเป็นผักสดโดยใส่ในยำ ลาบ พล่า น้ำตกพริกไทยอ่อน สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะการนำไปใช้ มักใส่ในอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์กลิ่นคาว ใส่คู่กับกระชาย เช่น แกงป่า ผัดเผ็ด และใส่เป็นเครื่องปรุงน้ำพริก เช่น น้ำพริกพริกไทยอ่อนข่า สรรพคุณทางยา เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้บิด ท้องอืด โรคหืด ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ ในข่าประกอบด้วย วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัสการนำไปใช้ มักใส่ในอาหารประเภทต้ม เช่น ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว ทั้งก๋วยเตี๋ยวเป็ด ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ใช้เป็นเครื่องปรุงในการต้มพะโล้ขาหมู บ้างก็นำมาโขลกละเอียดใส่ในลาบ เช่น ลาบปลาดุก ลาบหมู คนจีนมักนำข่ามาโขลกละเอียดผสมเต้าเจี้ยวกินกับข้าวต้มปลาและที่ขาดไม่ได้คือเป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆแมงลัก สรรพคุณทางยา เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดซางในเด็ก แก้ไอ บำรุงน้ำนม แก้โรคผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาระบาย ในแมงลักประกอบด้วย วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหารการนำไปใช้ กินเป็นผักสดแนมกับขนมจีน ใส่ในแกงเลียง แกงอีสาน เช่น แกงเห็ด แกงหน่อไม้ตะไคร้ สรรพคุณทางยา ใช้เป็นยาทาแก้ปวด เช่น โรครูมาติซัม อาการปวดตามบั้นเอว ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะอย่างอ่อน ขับเหงื่อ แก้ตกขาว อาเจียน ลดความดันโลหิต ขับลม แก้ไข้ ปวดท้อง โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว และอาการปวดเกร็ง ในตะไคร้ประกอบด้วย วิตามินเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัสการนำไปใช้ ใส่ในอาหารประเภทต้มยำ พล่า เช่น ต้มยำ ต้มแซบ หรือต้มกับน้ำให้มีความหอมเพื่อลวกอาหารทะเล เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาหมึก นอกจากนี้ยังซอยเฉียงเบาๆ แล้วทอดกรอบคลุกกับน้ำปรุงรสใช้โรยหน้าอาหารประเภทเนื้อปลาทอด เช่น ปลาทอดตะไคร้ ที่ขาดไม่ได้คือใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องปรุงน้ำพริกแกงต่างๆมะกรูด สรรพคุณทางยา ผสมมะกรูดช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ลมวิงเวียน น้ำมะกรูดแก้เลือดออกตามไรฟัน ในมะกรูดประกอบด้วย เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และโปรตีนการนำไปใช้ ใช้ได้ทั้งผลมะกรูดและใบมะกรูด การใช้ผสมมะกรูดจะปอกเอาแต่ผิวเปลือกใส่เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ น้ำมะกรูดใช้ปรุงรสเปรี้ยวในแกงเทโพ แกงส้ม เพราะมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวอมหวานกลมกล่อม ถ้าผ่าครึ่งผลตามขวางทั้งเปลือกมักใส่ในแกงเทโพ น้ำพริกน้ำยาของขนมจีน ใบมะกรูด ใช้ใส่ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือซอยโรยหน้าห่อหมก ฉู่ฉี่ พะแนง และใส่เป็นส่วนผสมทอดมันกระเทียม สรรพคุณทางยา มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ในกระเทียมประกอบด้วย เซเลเนียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่างวิตามินอี เอ และซีการนำไปใช้ ใส่ในผัดต่างๆ เช่น ผัดผักบุ้ง ผัดกะเพรา หรือสับละเอียดแล้วเจียวให้เหลืองใส่ในข้าวต้ม แกงจืด นำไปผสมกากหมูเจียวใส่เป็นเครื่องแต่งกลิ่นในก๋วยเตี๋ยวต่างๆ หรือนำมาโขลกกับรากผักชีและพริกไทยเป็นเครื่องหมักอาหาร เช่น ผสมกับเนื้อหมูบนใส่ในแกงจืด หมักเนื้อไก่ที่จะย่าง และเป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆขิง สรรพคุณทางยา ช่วยขับลม ขับน้ำดี ลดอาการบีบตัวของลำไส้ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง ป้องกันการอักเสบ มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ต้านการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนและอาการจิตซึมเศร้า ในขิงประกอบด้วย แคลเซียม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือดการนำไปใช้ ขิงมีทั้งขิงอ่อน ขิงแก่ การนำไปใช้ก็ต่างกัน ขิงแก่นิยมใส่ในอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอม เช่น โขลกรวมกับน้ำพริกแกงแล้วนำไปผัดพริกขิงหมูกับถั่วฝักยาว หรือใส่เป็นน้ำต้มขิงกินกับเต้าฮวยและใส่ในน้ำต้มน้ำตาล หรือซอยบางๆ ใส่ในปูอบวุ้นเส้น ส่วน ขิงอ่อน นิยมกินเป็นผัก เช่น ซอยใส่ในไก่ผัดพริก โรยหน้าโจ๊ก ต้มส้มปลา กินแนมกับไส้กรอกอีสาน ถ้ามีมากก็นำมาดองเป็นขิงดองสามรส กินกับเป็ดย่าง ไข่เยี่ยวม้าพริกชี้ฟ้า สรรพคุณทางยา ป้องกันหลอดลมอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ลดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหาร ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากอาการท้องอืดเฟ้อ และป้องกันหวัด ในพริกชี้ฟ้า ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใยอาหาร วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็กการนำไปใช้ พริกชี้ฟ้าแห้งมักใช้พริกสีแดงนำมาตากแห้ง โขลกใส่น้ำพริกแกงต่างๆ นำไปคั่วหรือเผาไฟให้หอมในต้มโคล้ง ต้มยำ พริกชี้ฟ้าสดมีสีเขียว สีแดง สีเหลือง ซึ่งมีเหลืองมีความเผ็ดมากกว่าสีอื่น จึงนิยมมาโขลกกับกระเทียมใส่ในผัดเผ็ด ส่วนสีแดงและสีเขียวนำมาหั่นแฉลบใส่ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ผัดพริก หรือหั่นเป็นแว่นใส่ในเครื่องจิ้มประเภทหลนและดองในน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว
พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร ขับลมขับเหงื่อได้ดี ทำให้รูขุมขนสะอาด ผิวพรรณสดใส และมีสารต้านมะเร็ง ในพริกขี้หนูประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และธาตุเหล็กการนำไปใช้ พริกขี้หนูแห้งเป็นขี้หนูสดสีแดงที่ตากแดดจนแห้ง นำมาคั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น หรือทอดเป็นเครื่องแนมขนมจีนน้ำพริก ยำ ลาบ ทางภาคใต้นิยมโขลกเป็นน้ำพริกแกง พริกขี้หนูสดใช้ทั้งสีแดงและสีเขียว ซอยหรือโขลกทำเป็นน้ำยำต่างๆ ใส่ในผัดกะเพรา ให้ความเผ็ดในต้มยำ ต้มแซบ หรือคั่วพอหอมบดผสมกับน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือ

คุณธรรม

คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป
คุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ
คุณธรรม คือ นามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของมนุษย์ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี

ข่าวสาร

กลุ่มข่าวสารคืออะไร
กลุ่มข่าวสารคือศูนย์ข้อมูลการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตที่กลุ่มของผู้ใช้ที่มีความสนใจร่วมกันมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับทุกๆ เรื่อง ตั้งแต่ซอฟต์แวร์ไปถึงหนังสือการ์ตูนจนถึงเรื่องการเมือง ใครก็ตามที่ดูกลุ่มข่าวสารจะสามารถอ่านข้อความกลุ่มข่าวสารที่ติดประกาศในกลุ่มนั้นได้ ซึ่งแตกต่างจากข้อความอีเมลที่สามารถมองเห็นได้เฉพาะผู้ส่งและผู้รับที่ระบุเท่านั้น กลุ่มข่าวสารมีขอบเขตในระดับสากลโดยมีผู้เข้าร่วมจากทั่วทั้งอินเทอร์เน็ต
ก่อนที่คุณจะสามารถดูข้อความในกลุ่มข่าวสาร คุณจะต้องมีโปรแกรมอ่านกลุ่มข่าว เช่น Windows Mail คุณจะใช้โปรแกรมอ่านกลุ่มข่าวเพื่อดาวน์โหลดข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ข่าวสาร ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายรายมีการให้บริการการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ข่าวสารต่างๆ สำหรับลูกค้าของตน โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้จะประกอบด้วยกลุ่มข่าวสารนับพันกลุ่มโดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ที่หลากหลาย บางเซิร์ฟเวอร์ข่าวสารจะประกอบด้วยหัวข้อเฉพาะทาง ตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ข่าวสาร Microsoft Help Groups ที่ news.microsoft.com จะให้บริการกลุ่มข่าวสารซึ่งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ทั้งหมด

สัตว์โลก

ปลาโมลา ออกไข่ทีละ 300 ล้านฟอง ปลาโมลาจะอยู่ในที่อากาศอบอุ่น กินแมงกะพรุนเป็นอาหาร ตัวยาว 3 เมตร บางตัวอาจหนักถึง 1 ตัน ตอนที่ยังเป็นไข่หรือลูกปลาก็จะถูกปลาอื่นกินเสียเกือบหมด Ocean Sunfish หรือ Mola Mola เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทยไม่มีเพราะไม่พบในน่านน้ำของไทยเรา เลยเรียกกันว่าโมลา โมล่า ทับศัพท์ เขาเป็นปลาประเภทที่มีกระดูกแข็ง (bony fish) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ยน้ำหนักประมาณ 1 ตัน ขนาดพอๆ กับตัวคน ความยาวเฉลี่ยประมาณเกือบ 2 เมตร ใหญ่สุดที่เคยบันทึกไว้ 3.3 เมตร ใหญ่ไม่ใช่เล่นทีเดียว เป็นปลาอยู่ใน order เดียวกับ pufferfish หรือปลาปักเป้า แต่ว่ารูปร่างประหลาดกว่าปลาทั่วไป ตามที่ท่านผู้อ่านเห็นในภาพนั่นเอง ชื่อของเจ้าโมลา โมลาในภาษาต่างๆ มีความน่าสนใจไม่เบา เช่น ชื่อทั่วๆ ไป Mola มาจาก คำว่า Millstones หรือหินที่ใช่สำหรับโม่แป้งในภาษาลาติน เพราะลักษณะของคือ สีเทา ทรงกลม และผิวหนังที่ขรุขระ แบบหินโม่แป้งขนาดใหญ่ว่ายน้ำได้ ส่วนภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Sunfish มาจากพฤติกรรมของเขาที่ชอบขึ้นมาอาบแดดบนผิวน้ำ ภาษาฝรั่งเศส poisson lune และสเปน pez luna แปลออกมาได้ว่า ปลาพระจันทร์ หรือ moon fish ตามลักษณะทรงกลม ส่วนภาษาเยอรมันฉันชอบที่สุดตั้งชื่อได้น่ารักมาก Schwimmender kopf แปลว่า หัวว่ายน้ำ (swimming head) ปลาโมลา โมล่า เป็นปลาที่มีปริมาณที่ไม่มากนัก ถึงแม้มันจะวางไข่ได้คราวละ 300 ล้านฟองก็ตาม แต่ปริมาณการรอดชีวิตนั้นน้อยมาก เนื่องจากมันเป็นปลาที่ตัวใหญ่และเคลื่่อนไหวได้เชื่องช้า เมื่อเปรียบเทียบกับปลาอื่นๆ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ เสียหมด สายพันธุ์ของปลาโมลา โมล่าที่พบเห็นมีด้วยกันอยู่ 5 สายพันธุ์ด้วยกัน ถึงแม้ว่าไม่มีปลาชนิดนี้ในบ้านเราแต่ก็มีปลาที่ถูกสต๊าฟไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแห่ง ซึ่งได้ตัวอย่างของปลาชนิดนี้มาจากชาวประมงที่ออกไปจับปลาในน่านน้ำเพื่อนบ้าน เช่นในประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งใน 2 ประเทศนี้มีปลาชนิดนี้อยู่มากพอสมควร