วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กีฬา


ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer)
เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอนเพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่นสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่าAssociation ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football

ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคมหรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่นเทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่นแต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตาเป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรกในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือและแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดนและสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C.และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา

งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cupนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ

สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอลเพราะจะรบกวนการยิงธนู
ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้าชาร์ลที่ 2
ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพและเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุมโดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง

ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย
กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ"เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ" ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น "เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อนเหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่าและเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่ายซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการบรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับกอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง "ชุดบางกอก" กับ "ชุดกรมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า"การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น" เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล" (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม"หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า "ชุดกรมศึกษาธิการ" เสมอกับ"ชุดบางกอก" 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอลแบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วยพ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากลการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการแข่งขันของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นการแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์"พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ" อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากพ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรกพ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้นซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบันต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม "เสือป่า" และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมาโดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า"พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไปจนตราบเท่าทุกวันนี้จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ" (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา "ครูทอง" ได้เขียนบทความกีฬา"เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล" และ "คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล"พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่างทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอลราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคนเช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่นงบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยโดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า"ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง"นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานครหรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้วความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่างจังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดีโดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเองรัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์ 2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี 3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบและเป็นกีฬาที่ประหยัดดี 4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญจากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามาจนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร(สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิตและผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0)สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND) มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILANDUNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T.และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วยพ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468 ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกันรายนามผู้เล่น
1. ผัน ทัพภเวส
2. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
3. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
4. จรูญฯ (พระทิพย์จักษุศาสตร์)
5. ก้อนดิน ราหุลหัต (หลวงศิริธารา)
6. ครูสำลี จุโฬฑก (หลวงวิศาลธีระการ)
7. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท)
8. ตุ๋ย ศิลปี (หลวงจิตร์เจนสาคร)
9. แฉล้ม กฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)
10. จิ๋ว รามนัฎ (หลวงยงเยี่ยงครู)
11. ลิ้ม ทูตจิตร์ (พระวิสิษฐ์เภสัช)
ชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459รายนามผู้เล่น
1. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
2. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
3. เจ็ก สุนทรกนิษฐ์
4. บุญ บูรณรัฎ
5. ใหญ่ มิลินทวณิช (หลวงมิลินทวณิช)
6. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท) 7



. ผัน ทัพภเวส 8. ถม โพธิเวช



9. แฉล้ม พฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)



10. หลวงเยี่ยงครู (ถือถ้วยใหญ่)



11. เกิด วัชรเสรี (ขุนบริบาลนาฎศาลา)



พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครอง พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า"ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2504-ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอลอังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโกพ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6 ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก"ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี

จากสภาพการณ์ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฯ ได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏและประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ ตัวอย่างประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอลเพรสซิเด้นคัพปี 2530 นี้ได้เชิญทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าแสดงว่าสมาคมฟุตบอลของไทยได้บริหารทีมฟุตบอลเป็นทีมที่มีมาตรฐานสูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเชียในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป ในปีพุทธศักราช 2530 นี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีโครงการทีมฟุตบอลชาติไทยชุดถาวรของสมาคมฟุตบอลฯเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลชาติไทย ซึ่งนักฟุตบอลทุกคนของสมาคมฯจะได้รับเงินเดือนเดือน ละ 3,000 บาท ในช่วงปี 2530-2531 นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลฯได้วางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกซ้อมและแข่งขันฟุตบอลโดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการฝึกด้วยตลอดจนหาช้างเผือกมาเสริมทีมชาติเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนสืบไป ขอใหสโมสรสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านโปรดติดตามและเอาใจช่วยให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจงเจริญรุ่งเรืองสืบไปชั่วนิจนิรันดร์

การบินในอวกาศ

การบินในอวกาศ
ไล่จับลูกบอลน้ำสัมคั้น โดยปกติในอวกาศ ของเหลวจะติดอยู่ในภาชนะที่ใส่ได้เพราะแรงตึงผิวหน้าของของเหลวและดื่มได้โดยใช้หลอดดูด แต่เมื่อกระแทกออกจากภาชนะก็จะเป็นก้อนของเหลวที่ลอยเคว้ง
มื้ออาหารในสภาวะไร้น้ำหนักบนยานอวกาศ
ในยุคบุกเบิกการบินอวกาศระหว่างทศวรรษ 1960 นักบินอวกาศต้องกินอาหารเละๆ ไม่น่ากินโดยการบีบใส่ปากจากหลอดแบบยาสีฟัน
ในยุคยานกระสวยอวกาศ นักบินอวกาศได้กินอาหารอร่อยที่จัดใส่ถาดพร้อมมีด ส้อม ช้อน มีทั้ง ไข่คน สเต็ก หน่อไม้ผรั่ง ฯลฯ
ก่อนที่ ยูริ กาการินจะบุกเบิกทางให้แก่นักบินอวกาศเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 นั้น ไม่มีใครทราบว่ามนุษย์จะทนความยากลำบากในอวกาศได้เพียงไร จะทนต่อแรงที่เกิดจากการปล่อยจรวด ซึ่งทำให้ร่างกายหนักขึ้นถึง 6 เท่า ตลอดจนทนสภาพไร้น้ำหนักที่เกิดหลังจากนั้นทันทีได้หรือไม่ นักบินอวกาศจะกินอาหารและดื่มน้ำได้หรือไม่ เมื่อไม่มีแรงดึงดูดมาทำให้อาหารและน้ำเข้าลำคอ แต่หลังจากที่มนุษย์บินในอวกาศมานานกว่า 25 ปี จึงพบคำตอบว่า "ได้" แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง
ในยานมีอากาศที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจน มีความกดอากาศในระดับน้ำทะเลปกติและมีอุณหภูมิที่สบายๆ นักบินอวกาศไม่ต้องใช้เสื้อคลุมหรือเสื้อนอก อากาศจะหมุนเวียนผ่านเครื่องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเครื่องกรองอากาศไส้ถ่าน ซึ่งช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นอับ ยานมีระบบควบคุมความชื้นอย่างดีและมีถังที่อัดแก๊สไนโตรเจนไว้ใช้ปรับความกดอากาศ ส่วนแก๊สออกซิเจนได้จากออกซิเจนเหลวที่บรรจุไว้ในยาน
วิธีบริโภคอาหารในอวกาศจะแตกต่างไปจากบนโลก เช่น ในอวกาศเราจะไม่สามารถโยนถั่วลิสงขึ้นไปแล้วอ้าปากรอรับได้ เพราะถั่วจะลอยขึ้นไปจนกระทบหลังคาของยานโดยไม่ร่วงลงมา ดังนั้นเราจึงต้องป้อนอาหารเข้าปากอย่างระมัดระวังแต่เมื่ออาหารเข้าปากแล้ว สภาพไร้น้ำหนักก็หมดความหมาย เมื่อเรากลืนอาหารตามปกติ อาหารก็จะลงไปในลำคอ ที่จริงจะเรียกว่า "ลง" หรือ "ขึ้น"
ส่วนการดื่มนั้นมีปัญหา เช่น เราไม่สามารถรินน้ำส้มได้ เพราะน้ำส้มจะไม่ไหลออกมาจากขวดถ้าเขย่าให้ออกมา มันก็จะเด้งออกมาแล้วกระจายเป็นหยดเล็กๆ ลอยไปทั่ว ดังนั้นเราจึงต้องใช้เครื่องมือที่คล้ายปืนฉีดน้ำฉีดเข้าปาก หรือไม่ก็ใช้หลอดดูด ซึ่งจะใช้ได้ผลดีเหมือนบนโลก เพราะอากาศจะกดให้ของเหลวขึ้นมาตามหลอด
3,000 แคลอรีต่อวัน
อาหารที่จัดไว้ให้นักบินอวกาศมีหลายชนิดและต้องพยายามให้มีลักษณะและกลิ่นน่ารับประทานแต่ละมื้อให้พลังงานโดยเฉลี่ย 3,000 แคลอรีต่อวันซึ่งนับว่าสูงสำหรับผู้อยู่ในที่แคบๆ ไร้แรงดึงดูดแต่นักบินอวกาศต้องใช้กำลังมากแม้จะทำเรื่องง่ายๆ เช่น เวลาที่หมุนคันบังคับ ร่างกายจะพลอยหมุนตามไปด้วย เมื่อก้มลงผูกเชือกรองเท้าตัวก็จะตีลังกาตามไปด้วย การที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยวิธีผิดธรรมดาเช่นนี้ทำให้ร่างกายได้ใช้แคลอรีที่ได้รับในปริมาณมากกว่าปกติ
การจัดสัดส่วนอาหารก็แตกต่างจากอาหารบนโลก ทั้งนี้เพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างที่อยู่ในอวกาศ ซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีที่เข้าสู่อวกาศและเห็นได้ชัดภายในสัปดาห์ต่อมา ยิ่งอยู่ในอวกาศนานเท่าใดผลกระทบก็มากขึ้นเท่านั้น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมถอยลงเมื่อขาดแรงดึงดูดที่มันเคยต้องต่อสู้ กล้ามเนื้อขาก็เสื่อมลงเช่นกันเพราะเดินไม่ได้เหมือนบนโลก ด้วยไม่มีอะไรช่วยให้เท้าติดพื้น
แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีผลร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่งคือการสูญเสียแคลเซียม ซึ่งทำให้ปริมาณและความแข็งแรงของกระดูกลดลง เม็ดเลือดแดงก็ค่อยๆ ลดลงเช่นกัน ลาเหตุยังไม่ทราบแน่ขัด แต่ถ้ายังตอบปัญหานี้ไม่ได้ การเดินทางในอวกาศเป็นเวลานานก็จะยังไม่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
อาหารที่มีเกลือแร่สมบูรณ์สามารถช่วยลดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่แพทย์อวกาศพอใจ การออกกำลังกายช่วยลดการเสื่อมของกล้ามเนื้อได้และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอยู่ในอวกาศนานๆ เข่น นักบินอวกาศชาวรัสเซียที่ต้องประจำอยู่ในสถานีอวกาศ ซาลยุต (Salyut) และมีร์ (Mir) เป็นเวลา 6-12 เดือน
ปลูกพืชในอวกาศได้หรือไม่
ไม่มีใครทราบว่ามนุษย์จะอดทนอยู่ในอวกาศได้นานเพียงไร ถ้านักบินอวกาศทนสภาพไร้น้ำหนัก อย่างต่อเนื่องได้ถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น ความฝันที่มนุษย์จะไปเยือนดาวเคราะห์ดวงอื่นก็จะเป็นจริงได้ในทศวรรษแรกๆ ของศตวรรษหน้า
ทั้งสหรัฐฯ และรัสเซียกำลังวางแผนด้านเสบียงสำหรับภารกิจที่ใช้เวลาเดินทางไปกลับ 2 ปีการจัดหาอาหารให้ลูกเรือในภารกิจเช่นนี้เป็นปัญหาอย่างยิ่ง ทางออกทางหนึ่งคือให้ปลูกพืชเป็นอาหารไว้ในเรือนกระจกของยาน การปลูกพืชจะเป็นกิจกรรมแก้เบื่อในการบินระยะยาวด้วย
รายการอาหารประจำวันของนักบินอวกาศ
รายการอาหารสำหรับนักบินอวกาศมักมีดังนี้
มื้อเช้า: ลูกพืช เกล็ดรำข้าว ไข่คน โกโก้
มื้อเที่ยง: เนื้อคอร์นบีฟกลับหน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอรี่ และขนมกรอบทำจากอัลมอนด์
มื้อเย็น: กุ้งค็อกเทล สเต็ก และผักบรอกโคลีโรยขนมปังป่นหรือเนยแข็งขูด บัตเตอร์สก็อตช์ พุดดิ้ง พันช์ผลไม้เมืองร้อน (ไม่ใส่แอลกอฮอล์)
ในยานมีอาหารพอให้สลับเปลี่ยนรายการอาหารจนไม่ซ้ำกันได้ถึง 6 วันติดต่อกัน
วิธีถนอมอาหารแบบล่าสุดที่ทำให้อาหารดูน่ากิน คือ การขจัดน้ำออกจากอาหารจนแห้งสนิท (dehydration) ซึ่งยังมีข้อดีอีกคือช่วยลดน้ำหนักของที่ยานต้องบรรทุก อาหารที่ขจัดน้ำออกหมดแล้ว ต้องนำมาทำให้คืนสภาพชุ่มน้ำก่อนจึงกินได้น่าแปลกที่ยานกระสวยอวกาศไม่ขาดน้ำ เพราะน้ำเป็นผลพลอยได้จากเซลล์เชื้อเพลิงที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้ยาน
ตัวอย่างการถนอมอาหาร ได้แก่ สเต็กทำสุก บรรจุห่อปิดผนึก บัตเตอร์สก็อตช์พุดดิ้งที่ปรุงแล้ว บรรจุกระป๋อง สตอเบอรี่แช่แข็งแล้วทำให้แห้งเพื่อรักษารูปร่างและเนื้อสตรอเบอรี่ เมื่อจะนำมากินก็ใส่น้ำ (หรืออาศัยเพียงน้ำลายในปาก) เพื่อให้คืนสภาพชุ่มน้ำ ส่วนขนมปังก็หั่นเป็นชิ้นธรรมดา แล้วอาบรังสีรักษาสภาพไว้
นักบินที่ผลัดกันทำหน้าที่พ่อครัวในแต่ละวันจะต้องจะจัดเตรียมอาหารในห้องครัวซึ่งมีทั้งเตาอบ ห้องเล็กเก็บอาหาร และที่จ่ายน้ำ หัวหน้าพ่อครัวจะผสมน้ำลงในอาหารตามปริมาณที่ต้องการ นำอาหารที่ต้องอุ่นให้ร้อนใส่เตาอบ ใส่หลอดดูดลงในภาชนะเครื่องดื่ม แล้วจัดอาหารเป็นถาดๆ สำหรับแต่ละคน จากนั้นก็ยึดถาดไว้กับที่ด้วยแม่เหล็กหรือแผ่นเวลโคร (Vekcro) หรือเทปเหนียว
นักบินอวกาศติดถาดไว้กับโต๊ะอาหารที่ยกไปมาได้หรือนำไปติดกับที่ใดก็ได้ที่เหมาะสม แม้แต่ผนังของเคบิน นักบินอวกาศจะใช้เท้ายึดไว้กับเครื่องยึดเท้าเพื่อกันมิให้ตัวลอย แล้วก็ยืนกินอาหาร
เมื่อเปิดภาชนะ อาหารมิได้ลอยไปเหมือนอย่างที่บางคนคิด เพราะอาหารส่วนใหญ่ชื้นหรือราดซอสหรือน้ำเกรวี่ แรงดึงบนพื้นผิวภาชนะจะช่วยยึดอาหารให้อยู่ในภาชนะได้ การใช้มีด ซ่อม และช้อนก็ไม่ค่อยเป็นปัญหานักเพราะอาหารจะเกาะติดเครื่องใช้เหล่านี้ แต่เวลากินนักบินอวกาศต้องไม่เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพราะจะทำให้อาหารหลุดจากการเกาะติดและลอยเคว้งไปทั่วเคบิน
การกำจัดของเสียในร่างกาย
ระหว่าง 2-3 วันแรกที่บินอยู่ในอวกาศ นักบินอวกาศเกือบครึ่งมักจะเมาอวกาศอย่างหนัก มี อาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ เหงื่อออก และอาเจียน อันเป็นอาการเมาการเดินทางซึ่งบางคนเคยเป็นมาแล้วบนโลก ในอวกาศอาการนี้เกิดจากสภาพไร้น้ำหนัก ซึ่งรบกวนอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการรักษาการคงตัวที่อยู่ตรงหูส่วนใน การกำจัดถุงอาเจียนต้องทำให้ถูกสุขลักษณะ เพราะเชื้อจุลินทรีย์อาจแพร่ได้เร็วในที่อันจำกัดเช่นนี้
เรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งคือการขจัดของเสียซึ่งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งขาติหรือองค์การนาสา (National Aeronautics and Space administration ย่อว่า NASA) เรียกว่า "การขจัดของที่เกิดจากการย่อย" (digestive elimination) การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายในสภาพไร้น้ำหนักเป็นปัญหาเนื่องจากขาดแรงดึงดูดของเสียจากร่างกายจึงลอยอยู่รอบๆ บริเวณที่ถูกขับออกมา
ในยานอวกาศลำแรกๆ นักบินอวกาศใข้แถบกาวติดถุงเข้ากับส่วนของร่างกายตามต้องการแต่ก็เป็นการปฏิบัติกิจที่ไม่สะดวกสบายเลย แต่ในยานกระสวยอวกาศ นักบินมีส้วมชักโครกซึ่งใช้อากาศ ไม่ใช้น้ำ มีที่ยืดเท้าและเข็มขัดรัดตัวให้ติดที่นั่ง ส่วนการถ่ายปัสสาวะจะต้องถ่ายไปตามท่อที่แยกไว้ต่างหาก ท่อนี้โค้งงอได้ปากท่อบานเป็นถ้วย รูปทรงปากขอบเหมาะให้ใช้งานได้ทั้งชายและหญิง ปัสสาวะจะไหลตามท่อด้วยกระแสอากาศไปพักไว้ชั่วคราวที่นอกตัวยานอวกาศซึ่งเป็นที่ซึ่งน้ำเสียระเหยไปได้
ของเสียที่เป็นของแข็งจะถูกขับลงสู่ที่เก็บโดยกระแสอากาศจากใต้ที่นั่ง ต่อมาเมื่อนำภาชนะบรรจุของเสียนี้ตากไว้ในอวกาศซึ่งเป็นสุญญากาศก็จะทำให้ของเสียนี้แห้ง ในที่สุดจึงนำกลับมากำจัดทิ้งบนโลกในภายหลัง

ประวัตของพระนเรศวรมหาราช





พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9 ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี เมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยราชการพระบิดา โดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด


การรบที่เมืองคัง


เมื่อปี พ.ศ. 2124 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสวรรคต ราชโอรสองค์ใหญ่พระนามมังไชยสิงห์ ซึ่งเป็นรัชทายาท และดำรงตำแหน่งมหาอุปราช ได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้านันทบุเรง พระเจ้านันทบุเรงได้ตั้งมังกะยอชะวา พระราชโอรสขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา เมื่อกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ ก็จะต้องมีฎีกาบอกกล่าวไปยังบรรดาประเทศราชทั้งหลาย ให้มาเฝ้าตามพระราชประเพณี ในครั้งนั้นก็มีพระเจ้าตองอู ผู้เป็นพระอนุชาพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าแปรเป็นราชบุตรพระเจ้าบุเรงนอง แต่คนละแม่กับพระเจ้านันทบุเรง พระเจ้าอังวะผู้เป็นราชบุตรเขยพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้ามินปะลอง ผู้ครองเมืองยะไข่ พระเจ้าหน่อเมือง ผู้ครองเมืองลานช้าง และสมเด็จพระมหาธรรมราชา ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทางกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ส่งพระโอรสพระองค์ใหญ่คือ สมเด็จพระนเรศวร เสด็จไปแทนพระองค์
ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีเจ้าเมืองคังไม่ได้มาเข้าเฝ้าตามประเพณี พระเจ้านันทบุเรงเห็นว่าเจ้าเมืองคังแข็งเมือง จำต้องยกทัพไปปราบปราม เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ในโอกาสที่เจ้าประเทศราชมาชุมนุมกันอยู่นี้ จึงให้โอรสของพระองค์ และโอรสเจ้าประเทศราชที่มีฝีมือ ยกกำลังไปปราบปรามเมืองคังแทนพระองค์ ดังนั้นจึงได้จัดให้พระมหาอุปราชา (มังกะยอชะวา หรือ มังสามเกลียด) พระสังกทัต (นัดจินน่อง) ราชบุตรพระเจ้าตองอู และสมเด็จพระนเรศวร ยกทัพไปตีเมืองคัง เป็นทำนองประชันฝีมือกัน
เมืองคังเป็นเป็นที่ตั้งอยู่บนภูเขา เป็นเมืองเล็กพื้นที่น้อย การที่กองทัพทั้ง 3 จะเข้าตีพร้อมกันเป็นการลำบาก เพราะไม่มีพื้นที่ให้ดำเนินกลยุทธได้เพียงพอ จึงตกลงกันให้ผลัดกันเข้าตีวันละกองทัพ พระมหาอุปราชาได้รับเกียรติให้เข้าตีก่อน เมื่อถึงวันกำหนด พระมหาอุปราชาก็ยกกำลังเข้าตีเมืองคังในเวลากลางคืน ชาวเมืองคังได้ต่อสู้ป้องกันเมืองเป็นสามารถ รบกันจนรุ่งสว่างก็ไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ จึงต้องถอนกำลังกลับลงมา วันต่อมา พระสังกทัตได้ยกกำลังเข้าตีเมืองคัง แต่ก็ไม่สำเร็จอีกเช่นกัน
เมื่อถึงวาระของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ได้มีการเตรียมการเป็นอย่างดี โดยที่ในระหว่างสองวันแรก ที่กองทัพทั้งสองผลัดกันเข้ามาโจมตรีนั้น พระองค์ได้ใช้เวลาดังกล่าว ออกลาดตะเวณตรวจดูภูมิประเทศ และเส้นทางบริเวณเมืองคังโดยตลอด ก็พบว่า มีทางที่จะขึ้นไปยังเมืองคังทางด้านอื่นได้อีกทางหนึ่ง นอกจากเส้นทางหลักที่กองทัพทั้งสองใช้เข้าตี แต่เส้นทางดังกล่าวนั้นเป็นเส้นทางลับ และคับแคบ เคลื่อนกำลังไม่สะดวก ดังนั้น พระองค์จึงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน เมื่อถึงเวลาค่ำก็ให้กองทหารกองเล็กซุ่มอยู่ทางด้านหน้า ซึ่งเป็นทางหลักที่พระมหาอุปราชาและพระสังกทัต ใช้เป็นเส้นทางเข้าตีมาก่อนแล้ว และให้กองทหารกองใหญ่ ไปวางกำลังอยู่ที่เส้นทางที่ตรวจพบใหม่ กองทัพไทยทั้งสองกองซุ่มอยู่ตลอดคืน จนถึงเวลาสี่นาฬิกา พระองค์จึงให้กองทหารกองเล็ก ยิงปืนโห่ร้อง แสดงอาการว่าจะเข้าตีเมืองทางด้านนั้น ชาวเมืองคังเข้าใจว่า ข้าศึกจะยกเข้าตีหักเอาเมืองทางด้านนั้น เหมือนเช่นครั้งก่อน และด้วยเป็นเวลามืด มองไม่เห็นข้าศึกว่ามีมากน้อยเพียงใด ก็พากันมารบพุ่งต้านทางในด้านนั้น เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่า การต้านทานเมืองคัง ได้ทุ่มเทไปทางด้านนั้นหมดแล้ว ก็สั่งให้กองกำลังส่วนใหญ่ ที่ซุ่มคอยอยู่ที่เส้นทางใหม่ เข้าตีหักเอาเมืองคังได้เมื่อเวลาเช้า จับได้ตัวเจ้าฟ้าเมืองคังมาถวายพระเจ้าหงสาวดี
พระเจ้าหงสาวดีหมายมั่นที่จะให้การเข้าตีเมืองคัง เป็นผลงานของพระมหาอุปราชา แต่ผลงานกลับเป็นของสมเด็จพระนเรศวร ผลสำเร็จในการปฎิบัติการยุทธของสมเด็จพระนเรศวรครั้งนี้ เพราะพระปรีชาสามารถ ที่ทรงใช้หลักการสงคราม มาประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติจริงอย่างได้ผล เมื่อพระองค์เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงกองทัพ และเตรียมการณ์ต่าง ๆ ไว้พร้อมที่จะรับสถานการณ์ในอนาคตโดยมิได้ประมาท


การประกาศอิสรภาพ


เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน
กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า
"ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"
จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6
ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง
ฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี
พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า ข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์
เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา


สงครามยุทธหัตถี


เมื่อพระมหาอุปราชาแตกทัพกลับไปในสงครามครั้งก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงพระวิตกยิ่งนัก เพราะว่าพม่าเสียทั้งรี้พลและอำนาจ เป็นเหตุให้เมืองขึ้นต่าง ๆ ของพม่าเกิดความเคลื่อนไหวที่จะแข็งเมืองทั่วไป การที่จะรักษาอำนาจพม่าไว้ได้ ก็ด้วยการเอาชนะไทยให้ได้ พระเจ้าหงสาวดีจึงให้พระมหาอุปราชา ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ในปี พ.ศ. 2135
ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พระเจ้าหงสาวดีได้ตัดพ้อในที่ประชุมเจ้านายและขุนนาง ถึงการที่ไม่มีใครเจ็บร้อนเรื่องเมืองไทย สมเด็จพระนเรศวรมีรี้พลเพียงหยิบมือเดียว ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง เมืองหงสาวดีคงสิ้นคนดีเสียแล้ว ขุนนางคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญอยู่ที่สมเด็จพระนเรศวรพระองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่มรบพุ่งเข้มแข็ง ทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาด มีคนน้อยก็เหมือนมีคนมาก เจ้านายในกรุงหงสาวดีที่ทำสงครามเข้มแข็ง เคยชนะศึกเหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรก็มีอยู่หลายองค์ ถ้าจัดกองทัพให้เป็นหลายกองทัพ แล้วให้เจ้านายดังกล่าวเป็นแม่ทัพ ยกไปช่วยรบก็เห็นเอาชัยชนะได้ พระเจ้าหงสาวดีก็ได้ตรัสตอบ ตามที่ปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า ข้อเสนอนั้นก็ดีอยู่ แต่ตัวของพระองค์เป็นคนอาภัพ ไม่เหมือนพระมหาธรรมราชาซึ่งมีลูก พ่อไม่ต้องพักใช้ให้ไปรบ มีแต่กลับจะต้องห้ามเสียอีก ตัวของพระองค์เองไม่รู้ว่าจะใช้ใคร พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น ก็เกิดความอัปยศอดสู จึงกราบทูลว่าขอรับอาสามาตีเมืองไทยแก้ตัวใหม่
สงครามคราวนี้ ทางพม่าเกณฑ์กองทัพ 3 เมือง คือ กองทัพเมืองหงสาวดี ให้เจ้าเมืองจาปะโร เป็นกองหน้า พระมหาอุปราชา เป็นกองหลวง กองทัพเมืองแปร ให้พระเจ้าแปรลูกเธอที่ไปตีเมืองคังได้เมื่อครั้งหลัง เป็นนายทัพ กองทัพเมืองตองอู ให้นัดจินหน่อง ลูกพระเจ้าตองอู ผู้ต้านทานกองทัพไทยไว้ได้เมื่อคราวที่พระเจ้าหงสาวดีล่าทัพจากเมืองไทย เป็นนายทัพ รวมกำลังพลทั้งสิ้น 240,000 คน นอกจากนั้น ยังให้พระเจ้าเชียงใหม่ ยกกองทัพเมืองใหม่ใหม่ ลงมาสมทบด้วยอีกหนึ่งกองทัพ
กองทัพพระมหาอุปราชายกออกจากเมืองหงสาวดี เมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง พ.ศ. 2135 เดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อล่วงเข้าถึงตำบลไทรโยค ก็ให้ตั้งค่ายลง แล้วปรึกษาแผนการที่จะเข้าตีเมืองกาญจนบุรี และเมื่อล่วงมาถึงลำตะเพินในตำบลลาดหญ้า ก็ให้พระยาจิตตองคุมพลสร้างสะพานเรือก เพื่อใช้ข้ามลำน้ำสายนี้ เมื่อเข้าเมืองกาญจนบุรีได้ก็พักอยู่หนึ่งคืน แล้วเคลื่อนทัพมายังตำบลตระพังกรุ แขวงเมืองกาญจนบุรี พระมหาอุปราชาก็ทรงให้ตั้งค่ายแบบดาวล้อมเดือน ตรงชัยภูมินาคนาม ทัพพม่ายกมาครั้งนี้ จนล่วงเข้าเขตกาญจนบุรี ไม่มีทัพไทยไปขัดตาทัพเลย จึงยกเข้ามาได้ตามลำดับ จนเข้าเขตเมืองสุพรรณบุรี แขวงบ้านพนมทวนเวลาบ่ายสามโมง เกิดลมเวรัมภาพัดหมุนเป็นเกลียว ทำให้เศวตฉัตรของพระมหาอุปราชาหักสะบั้นลง พระมหาอุปราชาเห็นเป็นลางร้าย มีความหวาดหวั่นพรั่นพระหฤทัยที่จะมาทำสงครามเพิ่มมากขึ้น กองทัพพม่ายกมาถึงตำบลตระพังกรุ แขวงเมืองสุพรรณบุรี ก็ให้หยุดตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั้น แล้วให้สมิงจอดราน สมิงเป่อ สมิงซาม่วน คุมกองทัพม้า ออกลาดตระเวณหาข่าวกองทัพพม่าที่จะยกลงมาทางเหนือ และสืบข่าวกองทัพฝ่ายไทย ว่าได้ยกออกมาและวางกำลังต่อสู้ไว้ที่ใดบ้าง
กองทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า ได้รบกันที่แขวงเมืองสุพรรณบุรี และกล่าวถึงกองทัพพระมหาอุปราชาเพียงทัพเดียว ไม่ปรากฎอีกสองกองทัพ คือกองทัพพระเจ้าแปร และกองทัพนัดจินหน่องแต่อย่างใด เรื่องนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า กองทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้ น่าจะยกมาสองทาง คือ กองทัพพระมหาอุปราชายกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ส่วนอีกสองกองทัพยกมาทางด่านแม่ละเมา และให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมเรือเป็นกองลงมาเช่นคราวก่อน กำหนดให้กองทัพที่ยกมาทั้งสองทางนี้ มารวมกันที่กรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อฝ่ายไทย ตีกองทัพพระมหาอุปราชาแตกไปก่อนแล้ว ก็เป็นอันสิ้นสุดสงคราม ทัพพม่าอีกสองกองทัพที่ยกมาทางเหนือ เดินทางมาถึงทีหลัง จึงยังไม่ทันเข้ารบพุ่งเลยต้องถอยกลับไป ข้อสันนิษฐานนี้น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด เพราะแม้แต่จะมีหลักฐานบางแห่งกล่าวว่า ทัพเจ้าเมืองแปรเป็นปีกซ้าย ทัพเจ้าเมืองตองอูเป็นปีกขวา เมื่อพิจารณาภูมิประเทศของเส้นทางเดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ห้องภูมิประเทศจะไม่อำนวยให้จัดทัพเช่นนั้นได้ จะทำได้เมื่อกองทัพเข้าสู่ที่ราบแล้วเท่านั้น และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ควรจะได้ปรากฎการปฏิบัติการของกองทัพทั้งสอง บันทึกไว้แน่นอน
ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวร ตั้งแต่กองทัพพระมหาอุปราชาแตกกลับไปเมื่อครั้งก่อน พระองค์ก็ทรงประมาณสถานการณ์ว่า ไทยคงจะว่างศึกไปสักปีสองปี เพราะข้าศึกบอบช้ำมาก ต้องใช้เวลาฟื้นฟูเป็นเวลานาน ดังนั้นในปีมะโรง พ.ศ. 2135 ทรงวางแผนที่จะไปตีกรุงกัมพูชา เนื่องจากในระหว่างที่ไทยทำศึกติดพันอยู่กับพม่านั้น เขมรจะฉวยโอกาสเข้ามาซ้ำเติมไทยอยู่หลายครั้ง แม้ต่อมาเมื่อเขมรเห็นว่าไทยเข้มแข็งขึ้น รบชนะพม่าทุกครั้งจะรีบเข้ามาขอเป็นไมตรีกับไทยก็ตาม แต่ครั้นเห็นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ยกกองทัพใหญ่เข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา เขมรคาดว่าไทยจะสู้พม่าไม่ได้ ก็หันกลับไปสู่พฤติกรรมเดิม ฉวยโอกาสยกกำลังเข้ามาโจมตีไทยอีก พระองค์จึงคอยหาโอกาส ที่จะยกกำลังไปปราบปรามเขมรให้สำนึกตน ครั้นถึงเดือนอ้าย ปีมะโรง พ.ศ. 2135 พระองค์ได้ทรงให้มีท้องตรา เกณฑ์ทัพเพื่อไปตีเมืองเขมร กำหนดให้ยกทัพไปในเดือนยี่ พอมีท้องตราไปได้ 6 วัน ถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนยี่ ก็ได้รับใบบอกจากเมืองกาญจนบุรีว่า พระเจ้าหงสาวดีทรงให้พระมหาอุปราชา ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ และได้ข่าวจากหัวเมืองเหนือว่า มีกองทัพข้าศึกยกลงมาอีกทางหนึ่ง
ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ทรงพระราชดำริว่าข้าศึกยกลงมาสองทาง ถ้าปล่อยให้มาสมทบกันได้ ก็จะทำให้ข้าศึกมีกำลังมาก เมื่อกองทัพพระมหาอุปราชายกเข้ามาก่อน จึงจะต้องชิงตีให้แตกเสียก่อน เป็นการรวมกำลังเข้ากระทำการต่อข้าศึกเป็นส่วนๆ ไป เช่นที่เคยเอาชนะกองทัพพระยาพสิม ก่อนที่กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่จะยกลงมาถึง ในสงครามครั้งแรก ดังนั้น จากการเตรียมประชุมพลที่ทุ่งบางขวด เพื่อเตรียมยกไปตีกรุงกัมพูชา ก็เปลี่ยนมาเป็นประชุมพลที่ทุ่งป่าโมก แขวงเมืองวิเศษไชชาญ อันเป็นเส้นทางร่วมที่จะยกทัพไปเมืองสุพรรณบุรี และไปเมืองเหนือได้ทั้งสองทาง
ในระหว่างนั้น พระองค์ก็ทรงให้พระอมรินทรฤาไชย ผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี คุมพล 500 คน จัดกำลังแบบกองโจร ออกไปปฏิบัติการตีตัดเส้นทางลำเลียง และรื้อสะพานทางเดินทัพของข้าศึกทางด้านหลัง จัดทัพหัวเมือง ตรี จัตวา และหัวเมืองปักษ์ใต้ รวม 23 หัวเมือง รวมกำลังพลได้ 50,000 คน ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นนายทัพ พระยาราชฤทธานนท์เป็นยกกระบัตร คุมกองทัพหัวเมือง ไปตั้งขัดตาทัพสะกัดข้าศึกอยู่ที่ลำน้ำท่าคอย แขวงเมืองสุพรรณบุรี เมื่อเตรียมทัพหลวงเสร็จ สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ ก็เสด็จโดยกระบวนเรือพระที่นั่งจากพระนคร ไปทำพิธีฟันไม้ข่มนามที่ทุ่งลุมพลี เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ แล้วเสด็จไปยังที่ตั้งทัพชัย ที่ตำบลมะม่วงหวาน หยุดปรับกระบวนทัพอยู่สามคืน พอวันขึ้น 12 ค่ำ ก็เสด็จยกกองทัพหลวงมีกำลังพล 100,000 คน ออกจากทุ่งป่าโมกไปเมืองสุพรรณบุรีทางบ้านสามโก้ ข้ามลำน้ำสุพรรณที่ท่าท้าวอู่ทอง ไปถึงค่ายหลวงที่หนองสาหร่ายริมลำน้ำท่าคอย เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ
มีความในพระราชพงศาวดาร แสดงถึงความอัศจรรย์ตอนหนึ่งว่า ขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวร ประทับอยู่ที่ค่ายหลวง ตำบลมะขามหวาน ก่อนวันที่จะเสด็จยกกองทัพไปเมืองสุพรรณบุรี ในตอนกลางคืน พระองค์ทรงพระสุบินว่า มีน้ำท่วมป่า หลากมาแต่ทางทิศตะวันตก พระองค์เสด็จลุยน้ำไปพบจรเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ได้เข้าต่อสู้กัน ทรงประหารจรเข้นั้นสิ้นชีวิตด้วยฝีพระหัตถ์ สายน้ำนั้นก็เหือดแห้งไป ทรงมีรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนั้น พระยาโหราธิบดีกราบทูลพยากรณ์ว่า เสด็จไปคราวนี้จะได้รบพุ่งกับข้าศึก เป็นมหายุทธสงคราม ถึงได้ทำยุทธหัตถีและจะมีชัยชนะข้าศึก
มีเรื่องของศุภนิมิตครั้งที่สองที่ได้กล่าวไว้ในที่บางแห่งว่า เมื่อใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่งตามพิชัยฤกษ์นั้น พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ส่องแสงเรืองอร่าม ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้ แล้วลอยวนรอบกองทัพไทย เป็นทักษิณาวัตรสามรอบ จากนั้นจึงลอยขึ้นไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระนเรศวร และพระอนุชาทรงปิติยินดีตื้นตันพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงนมัสการและอธิษฐานให้ พระบรมสารีริกธาตุนั้น ปกป้องคุ้มครองกองทัพไทย ให้พ้นอันตรายจากผองภัยทั้งมวล
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงหนองสาหร่าย ก็ทรงให้กองทัพพระศรีไสยณรงค์ กับ พระราชฤทธานนท์ ซึ่งออกไปขัดตาทัพอยู่ก่อนที่ลำน้ำท่าคอย เลื่อนออกไปขัดตาทัพที่ดอนระฆัง ส่วนกองทัพหลวงก็ทรงให้เตรียมค่ายคู และกระบวนทัพที่จะรบข้าศึก ด้วยคาดว่าคงจะได้ปะทะกันในวันสองวันเป็นแน่ เพราะกองทัพของทั้งสองฝ่ายอยู่ใกล้กันมากแล้ว พระองค์ทรงจัดทัพเป็นขบวน เบญจเสนา 5 ทัพ ดังนี้
ทัพที่ 1 เป็นกองหน้า ให้พระยาสีหราชเดโชชัยเป็นนายทัพ พระยาพิชัยรณฤทธิ์ เป็นปีกขวา พระยาวิชิตณรงค์ เป็นปีกซ้าย
ทัพที่ 2 เป็นกองเกียกกาย ให้พระยาเทพอรชุน เป็นนายทัพ พระยาพิชัยสงคราม เป็นปีกขวา พระยารามคำแหง เป็นปีกซ้าย
ทัพที่ 3 เป็นกองหลวง สมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นจอมทัพ พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยามหาเสนา เป็นปีกขวา เจ้าพระยาจักรี เป็นปีกซ้าย
ทัพที่ 4 เป็นกองยกกระบัตร ให้พระยาพระคลัง เป็นนายทัพ พระราชสงคราม เป็นปีกขวา พระรามรณภพ เป็นปีกซ้าย
ทัพที่ 5 เป็นกองหลัง ให้พระยาท้ายน้ำ เป็นนายทัพ หลวงหฤทัย เป็นปีกขวา หลวงอภัยสุรินทร์เป็นปีกซ้าย
ค่ายที่หนองสาหร่ายนี้ ทรงให้ตั้งเป็นกระบวนปทุมพยุหะเป็นรูปดอกบัว และเลือกชัยภูมิครุฑนาม เพื่อข่มกองทัพข้าศึกซึ่งตั้งในชัยภูมินาคนาม ตามหลักตำราพิชัยสงคราม
ครั้นถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ พระยาศรีไสยณรงค์บอกมากราบทูลว่า ข้าศึกยกกองทัพใหญ่พ้น บ้านจรเข้สามพันมาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น แล้วสั่งให้พระยาศรีไสยณรงค์ ยกออกไปหยั่งกำลังข้าศึก แล้วให้ถอยกลับมา
ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ ให้ผูกช้างพระที่นั่งชื่อ พลายภูเขาทอง ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาไชยานุภาพ เป็นพระคชาธารของพระองค์ มีเจ้ารามราฆพเป็นกลางช้าง นายมหานุภาพเป็นควาญ อีกช้างหนึ่งชื่อพลายบุญเรือง ขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธารสมเด็จพระเอกาทศรถ มีหมื่นภักดีศวรเป็นกลางช้าง ขุนศรีคชคงเป็นควาญ พร้อมด้วย นายแวง จตุลังคบาท พวกทหารคู่พระทัยสำหรับรักษาพระองค์
ขณะนั้นเสียงปืนจากการปะทะกัน ระหว่างทัพหน้าของไทย กับทัพหน้าของพม่าดังขึ้น พระองค์จึงดำรัสให้จมื่นทิพเสนา ปลัดกรมตำรวจ เอาม้าเร็วไปสืบข่าว ได้ความว่า พระยาศรีไสยณรงค์ได้ยกกำลังออกไป และได้ปะทะกับข้าศึกที่ ตำบลดอนเผาข้าวเมื่อเวลาเช้า ฝ่ายข้าศึกมีกำลังมากต้านทานไม่ไหว จึงแตกถอยร่นมา สมเด็จพระนเรศวรจึงปรึกษาแม่ทัพนายกองว่า สถานการณ์เช่นนี้ควรจะทำอย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายกราบทูลว่า ควรให้มีกองทัพหนุน ออกไปช่วยต้านทานข้าศึกไว้ให้อยู่เสียก่อน แล้วจึงให้ทัพหลวงออกมาตีภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรไม่ทรงเห็นชอบด้วย มีพระดำรัสว่า กองทัพแตกลงมาเช่นนี้แล้ว จะให้กองทัพไปหนุน ไหนจะรับไว้อยู่ มาปะทะกันเข้าก็จะพากันแตกลงมาด้วยกัน ควรที่จะล่าถอยลงมาโดยเร็ว เพื่อปล่อยให้ข้าศึกยกติดตามมาอย่างไม่เป็นกระบวน พอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่เข้าโจมตีข้าศึก ก็คงจะได้ชัยชนะโดยง่าย สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้จมื่นทิพเสนา กับ จมื่นราชามาตย์ ขึ้นม้าเร็ว รีบไปประกาศแก่พวกกองทัพหน้าของไทยว่า อย่าได้รั้งรอข้าศึก ให้รีบล่าถอยหนีไปโดยเร็ว กองทัพหน้าของพระยาศรีไสยณรงค์ก็พากันถอยหนีไม่เป็นกระบวน ข้าศึกเห็นดังนั้น ก็พากันรุกไล่ลงมาด้วยเห็นได้ที จนไม่เป็นกระบวนเช่นกัน
สมเด็จพระนเรศวรสงบทัพหลวงรออยู่จน 11 นาฬิกา เห็นข้าศึกตามลงมาไม่เป็นกระบวน ก็สมคะเน ทรงดำรัสสั่งให้บอกสัญญาณกองทัพทั้งปวง ให้ยกออกตีข้าศึก พระองค์และพระเอกาทศรถ ยกกองทัพหลวงเข้าโอบกองทัพหน้าข้าศึก ทัพท้าวพระยาอื่น ๆ ได้ทราบกระแสรับสั่งได้เร็วบ้างช้าบ้าง เนื่องจากเหตุการณ์กระทันหัน มีเวลาน้อยมาก ทำให้ยกไปไม่ทันเสด็จเป็นส่วนมาก คงมีแต่กองทัพพระยาสีหราชเดโชชัย กับกองทัพเจ้าพระยามหาเสนาซึ่งเป็นปีกขวา ตามกองทัพหลวงเข้าจู่โจมข้าศึก กองทัพหน้าของพม่าไม่คาดว่าว่าจะมีกองทัพไทยไปยอทัพ ก็เสียทีแตกหนีอลหม่าน
เหตุการณ์ตอนนี้มีเรื่องบันทึกไว้ในบางแห่งว่า ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรประทับรอฟังข่าวทัพหน้าอยู่นั้น ได้บังเกิดเมฆเยือกเย็น ตั้งเค้ามืดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วกลับกลายเป็นเปิดโล่ง เห็นดวงตะวันสาดแสงสว่างกระจ่างตา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเคลื่อนทัพตามเกล็ดนาค ซึ่งตามตำราพิชัยสงครามได้กำหนดไว้ว่า ในวันใดหัวนาคและหางนาคอยู่ทางทิศใด ต้องไปตั้งทัพทางหัวนาค แล้วเคลื่อนทัพไปทางหางนาค เป็นการเคลื่อนที่ตามเกล็ดนาค ไม่ให้เคลื่อนที่ย้อนเกล็ดนาค เมื่อช้างพระที่นั่งของทั้งสองพระองค์ได้ยินเสียงฆ้องกลองรบ และเสียงปืนที่ทั้งสองฝ่ายยิงต่อสู้กัน ก็เกิดความคึกคะนองด้วยเหตุที่กำลังตกมัน แล้ววิ่งถลันเข้าไปในหมู่ข้าศึก ควาญไม่สามารถคัดท้ายอยู่ บรรดาแม่ทัพนายกองและไพร่พลทั้งปวงตามเสด็จไม่ทัน ผู้ที่สามารถตามเสด็จไปด้วยได้ คงมีแต่ผู้ที่มีหน้าที่อยู่ประจำช้างพระที่นั่ง คือกลางช้าง ควาญช้าง และจตุลังคบาท ที่มีหน้าที่รักษาเท้าช้าง สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ทอดพระเนตรเห็นข้าศึกมีกำลังมากมาย ไม่เป็นทัพเป็นกอง จึงทรงไสช้างพระที่นั่งเข้าชนช้างข้าศึก เหล่าข้าศึกพากันระดมยิงอาวุธมาดังห่าฝน แต่ไม่ถูกช้างทรง ทันใดนั้นก็บังเกิดตะวันตลบมืด ท้องฟ้ามืดมิดราวกับไม่มีแสงตะวัน จนมองไม่เห็นกัน สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงได้ประกาศแก่เทวดา พระพรหมทุกชั้นฟ้า ถึงปณิธานของพระองค์ที่ได้มาสืบวงศ์กษัตริย์ และมุ่งหวังที่จะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา ทันใดนั้นก็บังเกิดพายุใหญ่พัดปั่นป่วนในท้องฟ้า สนามรบก็สว่างแจ้ง พระองค์แลไปเห็นนายทัพข้าศึก นั่งอยู่บนหลังช้างเผือกตัวหนึ่ง มีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มต้นข่อย มีพล 4 เหล่า เรียงรายอยู่มากมาย ก็ทรงตระหนักแน่พระทัยว่าเป็นพระมหาอุปราชา
เหตุการณ์ในตอนนี้มีอยู่หลายสำนวน ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ให้เอาพลายภูเขาทอง ขึ้นระวางสะพัด ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ สูง 6 ศอกคืบ 2 นิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลัง เป็นคชาธารสมเด็จพระนเรศวร และให้เอาพลายบุญเรืองขึ้นระวางสะพัด ชื่อเจ้าพระยาปราบไตรจักร สูง 6 ศอก 2 คืบ ติดน้ำมันหน้าหลัง เป็นพระคชาธารสมเด็จพระอนุชาธิราชพระเอกาทศรถ ส่วนพระคชาธารของพระมหาอุปราชานั้น ชื่อพลายพัทธกอ สูง 6 ศอกคืบ 6 นิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลังเช่นเดียวกัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ยาตราพระคชาธารเป็นบาทย่างสะเทินมา บ่ายหน้าต่อข้าศึก เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้ยินเสียงพลและเสียงฆ้องกลองอึงคะนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วนเป็นบาทย่างใหญ่ เร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน ช้างท้าวพระยามุขมนตรี และโยธาหาญซ้ายขวาหลังนั้นตกลง ไปมิทันเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทัพหน้าข้าศึก ทอดพระเนตรเห็นพลพม่ารามัญนั้นยกมาเต็มท้องทุ่ง เดินดุจคลื่นในมหาสมุทร พลข้าศึกไล่พลชาวพระนครครั้งนั้น สลับซับซ้อนกันมิได้เป็นกระบวน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พลปรปักษ์ ไล่สายเสยถีบฉัดตะลุมบอน พลพม่ารามัญตายเกลื่อนกลาด ช้างข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลบปะกันไปเป็นอลหม่าน พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟ ระดมเอาพระคชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และธุมาการก็ตรลบมืดเป็นหมอกมัวไป มิได้เห็นกันประจักษ์
สำนวนของวันวลิต ชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2176 ได้บรรยายเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพอันมีกำลังใหญ่หลวง มายังกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรยกทัพมาถึงวัดร้างแห่งหนึ่ง เรียกว่า เครง หรือ หนองสาหร่าย เพื่อปะทะทัพมอญ เมื่อกองทัพทั้งสองมาประจัญกันเข้า พระนเรศวรและพระมหาอุปราชา (ซึ่งต่างก็ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ และประทับบนพระคชาธาร) ต่างทอดพระเนตรเห็นกันเข้า ต่างองค์ก็มีพระทัยฮึกเหิม เสด็จออกจากกองทัพ ขับพระคชาธารโดยปราศจากรี้พลเข้าหากัน แต่พระคชาธารที่พระนเรศวรทรงอยู่นั้น เล็กกว่าช้างทรงพระมหาอุปราชามากนัก เมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์มุ่งเข้าหากัน ช้างที่เล็กกว่าก็ตกใจกลัวช้างที่ใหญ่กว่า ถึงกับเบนหัวจะถอยกลับ พระนเรศวรทรงเห็นดังนั้น จึงตรัสปลอบพระยาช้างต้นให้มีใจฮึกเหิมกลับมาสู้ช้างข้าศึก และทรงพรมน้ำเทพมนต์ซึ่งพราหมณ์ได้ทำถวายไว้สำหรับโอกาสนี้ ลงบนศีรษะช้าง พระยาช้างต้นผู้ชาญฉลาดเมื่อได้รับน้ำเทพมนต์ และได้ยินเสียงพระราชดำรัสของวีรกษัตริย์ก็มีใจฮึกเหิม ชูงวงขึ้นประณตแล้วเบนหัวสู่ข้าศึก พลันวิ่งพุ่งเข้าสู่กษัตริย์มอญอย่างเมามัน อำนาจของพระยาช้างต้นในการสู้รบครั้งนี้ แลดูน่าสพึงกลัว และน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเหตุการณ์ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การกระทำยุทธหัตถีของสองกษัตริย์ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงได้ชัยชนะอย่างงดงาม เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทิศานุทิศ ข้าศึกศัตรูไม่หาญกล้ามาเบียดเบียนราชอาณาจักรไทยอีกเลยถึง 160 ปี
สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงขับช้างพระที่นั่งตรงไปยังพระมหาอุปราชา แล้วร้องตรัสไปโดยฐานที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อน มีความว่า
"เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในที่ร่มไม้ทำไม เชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้า ที่จะทำยุทธหัตถีได้อย่างเรา จะไม่มีแล้ว"
พระมหาอุปราชา เมื่อทรงได้ยินดังนั้นก็ขับพลายพัทธกอซึ่งเป็นพระคชาธาร ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพ พระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวร ในชั้นแรก เจ้าพระยาไชยานุภาพเสียที พลายพัทธกอได้ล่างแบกรุน พระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทัน ถูกแต่พระมาลาหนังขาดลิไป พอพระยาไชยานุภาพสะบัดหลุด แล้วกลับชนได้ล่างแบกถนัดรุนพลายพัทธกอหัวเบนไป สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระมหาอุปราชาที่ไหล่ขวาขาด สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปะโร และฟันเจ้าเมืองจาปะโรตายเช่นกัน ทหารพม่าก็เข้ามากันพระศพพระมหาอุปราชา และเจ้าเมืองจาปะโรออกไป แล้วเข้าระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ได้รับบาดเจ็บ และถูกนายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่ง กับหมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถ ตายทั้งสองคน ขณะนั้น กองทัพเจ้าพระยามหาเสนา พระยาสีหราชเดโชชัยตามไปทัน ก็ช่วยกันรบพุ่งแก้กันทั้งสองพระองค์ออกมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่า กองทัพข้าศึกแตกเฉพาะทัพหน้า กำลังฝ่ายไทยที่ตามเสด็จไปถึงเวลานั้นมีน้อยนัก จึงจำต้องเสด็จกลับมาค่ายหลวง ฝ่ายข้าศึกก็เชิญพระศพพระมหาอุปราชา เลิกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี เหตุการณ์ในตอนนี้ วัน วลิต ได้บรรยายไว้ว่า
ช้างข้าศึกพยายามเอางาเสยพระคชาธารให้ถอยห่างอยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุดพระคชาธารซึ่งเล็กกว่าก็ได้ทีช้างข้าศึก โดยช้างข้าศึกไม่ทันรู้ตัว ขึ้นเสยช้างข้าศึกแล้วเอางวงตีด้วยกำลังแรงยิ่งนัก จนช้างข้าศึกร้องขึ้น กษัตริย์มอญก็ตกพระทัย กษัตริย์ไทยเห็นได้ทีก็เอาพระแสงขอ ตีต้องพระเศียรกษัตริย์มอญ แล้วใช้พระแสงทวนแทงจนกษัตริย์มอญตกช้างสิ้นพระชนม์ แล้วทรงจับช้างทรงของกษัตริย์มอญนั้นไว้ได้ ทหารรักษาพระองค์ซึ่งตามมาโดยไม่ช้า ก็แทงชาวโปรตุเกส ซึ่งนั่งอยู่เบื้องหลังกษัตริย์มอญนั้นตาย เมื่อกองทัพมอญเห็นกษัตริย์ของตนสิ้นพระชนม์ ก็พากันล่าถอยไม่เป็นกระบวน กองทัพไทยก็ไล่ติดตามไปอย่างกล้าหาญ จับเป็นได้เป็นจำนวนมาก ฆ่าตายเสียก็มาก ที่เหลือนั้นก็แตกกระจัดกระจายไปประดุจแกลบต้องลม ทหารมอญหลายพันคนต้องตกค้างอยู่ และเมื่อต้องถอยทัพกลับโดยที่ขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงกลับไปถึงเมืองมอญได้น้อยคนนัก
สมเด็จพระนเรศวรมีชัยในการกระทำยุทธหัตถีครั้งนี้ พระเกียรติยศได้เลื่องลือไปทั่วทุกประเทศในชมพูทวีป ด้วยถือเป็นคติมาแต่โบราณว่า การชนช้างเป็นยอดวีรกรรมของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว มิได้อาศัยกำลังพล หรือกลยุทธใดๆ เป็นการแพ้ชนะกันด้วยฝีไม้ลายมือและความแกล้วกล้า นอกจากนั้น โอกาสที่จะมีเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีน้อย ดังนั้น ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะ ก็จะได้รับความยกย่องว่ามีพระเกียรติยศอย่างสูงสุด ถึงเป็นผู้แพ้ ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ว่าเป็นนักรบแท้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่ง ตรงที่ได้กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ณ ตำบลท่าคอย ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์ อยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไปประมาณ 100 เส้น พระเจดีย์ทิ้งร้างมานานหลายร้อยปี เพิ่งมาพบเมื่อปี พ.ศ. 2456 วัดฐานเจดีย์ได้ด้านละ 10 วา ความสูงประมาณ 20 วา ต่อมา ได้มีการบูรณะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ ตามแบบอย่างเจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ แห่งชัยชนะครั้งนั้น ตามคำกราบทูลแนะนำของสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นเจดีย์กลมแบบลังกา ดังที่ปรากฎอยู่ปัจจุบันนี้
สมเด็จพระนเรศวร ทรงปูนบำเหน็จความชอบอันเนื่องมาจากการสงครามครั้งนี้โดยทั่วกัน คือ ช้างพระที่นั่งที่ชนชนะข้าศึก พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี พระแสงของ้าวก็ได้นามว่าเจ้าพระยาแสนพลพ่าย นับถือเป็นพระแสงศักดิ์สิทธิ์ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงคชาธารในรัชกาลหลัง ๆ สืบมา พระมาลาที่พระองค์ทรงในวันนั้น ก็ปรากฎนามว่าพระมาลาเบี่ยง ดำรงคงอยู่มาถึงปัจจุบันนี้
เมื่อเสร็จศึกแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงโทมนัส ที่ไม่สามารถจะตีข้าศึกให้แตกยับเยินไปได้เหมือนครั้งก่อน เพราะเหตุที่แม่ทัพนายกองไม่สามารถตามเสด็จให้ทันการรบพุ่งพร้อมกัน พระองค์จึงให้ลูกขุน ประชุมปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองเหล่านั้นตามพระอัยการศึก ลูกขุนปรึกษากันแล้ววางบทว่า
พระยาศรีไสยณรงค์ มีความผิดฐานฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ ไปรบพุ่งข้าศึกโดยพละการจนเสียทัพแตกมา
เจ้าพระยาจักรี พระยาพระคลัง พระยาเทพอรชุน พระยาพิชัยสงคราม พระยารามคำแหง มีความผิดฐานละเลย มิได้ตามเสด็จให้ทันท่วงทีการพระราชสงคราม
ทั้งหมดนี้ โทษถึงประหารชีวิตด้วยกัน พระองค์จึงทรงให้เอาตัวคนทั้งหมดดังกล่าวไปจำตรุไว้ พอพ้นวันพระแล้ว ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย ตามคำพิพากษาของลูกขุน
ครั้นถึงวันแรม 14 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนพรัตน์ วัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะรวม 25 รูป เข้าไปเฝ้า ถามข่าวถึงการเสด็จพระราชสงครามตามประเพณี สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ฟังทุกประการ สมเด็จพระพนรัตน์ได้ฟังแล้วจึงถวายพระพรถามว่า พระองค์มีชัยแก่ข้าศึก แต่เหตุไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องรับราชทัณฑ์ สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า นายทัพนายกองเหล่านี้กลัวข้าศึกมากกว่ากลัวพระองค์ ละให้แต่พระองค์สองคนพี่น้อง ฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ต่อมีชัยกลับมาจึงได้เห็นหน้าพวกเหล่านี้ นี่หากว่าพระองค์ยังไม่ถึงที่ตาย หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีเสียแล้ว เหตุนี้พระองค์จึงให้ลงโทษตามอาญาศึก สมเด็จพระพนรัตน์จึงถวายพระพรว่า เมื่อพิเคราะห์ดูข้าราชการเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวสมเด็จพระนเรศวรนั้นหามิได้ เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็น เพื่อจะให้พระเกียรติแก่พระองค์เป็นมหัศจรรย์ เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงไม้โพธิ์ครั้งนั้น เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมหมื่นจักรวาล พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ ถ้าพระพุทธเจ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร มีชัยแก่พระยามารก็หาสู้เป็นอัศจรรย์ไม่ เผอิญให้หมู่เทพเจ้าทั้งปวงปลาศนาการหนีไปสิ้น เหลือแต่พระองค์เดียวสามารถผจญให้เหล่ามารปราชัยไปได้ จึงได้พระนามว่า พระพิชิตมาร โมฬีศรีสรรเพชญดาญาณ เป็นมหาอัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ ก็เหมือนทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ ถ้าเสด็จพร้อมด้วยโยธาทวยหาญมาก และมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชา ก็จะหาสู้เป็นมหัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศ ให้ปรากฎแก่นานาประเทศไม่ อันเหตุที่เป็นทั้งนี้ เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์ จักสำแดงพระเกียรติยศ เป็นแน่แท้
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา สมเด็จพระพนรัตน์จึงได้ถวายพระพรว่า ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำราชการมา แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัท สมเด็จพระบรมครู จึงขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป สมเด็จพระนเรศวร จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตน์ขอแล้ว พระองค์ก็จะถวาย แต่ทว่า จะต้องไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน สมเด็จพระพนรัตน์
ถวายพระพรว่า การจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้นสุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์ มิใช่กิจของสมณะ แล้วก็ถวายพระพรลาไป สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้นายทัพนายกองที่มีความผิดพ้นจากเวรจำ แล้วทรงให้พระยาจักรียกกองทัพมีกำลังพล 50,000 คน ไปตีเมืองตะนาวศรีทัพหนึ่ง ให้พระยาพระคลังคุมกองทัพมีกำลัง 50,000 ไปตีเมืองทวายอีกองทัพหนึ่ง


บันทึกเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี


เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดี มีข้อมูลที่น่ารู้ดังนี้
ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ได้กล่าวถึงเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงชนะยุทธหัตถี แล้ว "ตรัสให้ก่อพระเจดีย์สถาน สวมศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ ตำบลตระพังกรุ"
สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ได้ทรงให้พระยากาญจนบุรี (นุช) ไปสืบหา ได้ความว่าบ้านตระพังกรุมีมาแต่โบราณ เป็นที่ดอนต้องอาศัยใช้น้ำบ่อ มีบ่อน้ำกรุอิฐข้างในซึ่งคำโบราณ เรียกว่า ตระพังกรุ อยู่หลายบ่อ แต่ไม่มีเจดีย์ที่สมควรว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดินสร้างอยู่ในบริเวณนั้น
เมื่อได้ประมวลเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้สร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถี ขึ้นตรงที่ชนช้างองค์หนึ่ง แล้วทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่อีกองค์หนึ่ง ขนานนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคล ขึ้นที่วัดเจ้าพระยาไทย อันเป็นที่สถิตของพระสังฆราชฝ่ายขวา จึงมักเรียกกันว่า วัดป่าแก้ว ตามนามเดิมของพระสงฆ์คณะนั้น
ในปีแรกรัชกาลที่ 6 พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เมื่อยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้พบหนังสือเรื่องพงศาวดารเล่มหนึ่ง มีหลักฐานว่าเขียน เมื่อปี พ.ศ. 2223 ซึ่งต่อมาให้เรียกว่า พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ฯ มีความในเรื่องสงครามยุทธหัตถีว่า
"พระมหาอุปราชามาตั้งประชุมทัพอยู่ที่ตำบลตระพังกรุ แล้วมาชนช้างกับสมเด็จพระนเรศวร ฯ ที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 955 (พ.ศ. 2135)"
สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ จึงทรงให้พระยาสุนทรบุรี (อี่ กรรณสูตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ไปสืบหาตำบลหนองสาหร่าย ได้ความว่า ตำบลหนองสาหร่ายนั้นอยู่ใกล้ลำน้ำท่าคอย อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสุพรรณ เป็นลำน้ำเดียวกันกับลำน้ำจรเข้สามพัน ที่ตั้งเมืองอู่ทอง แต่อยู่เหนือขึ้นไปไกล มีเจดีย์โบราณอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า ดอนเจดีย์ เป็นเจดีย์ฐานทักษิณเป็น 4 เหลี่ยม 3 ชั้น ชั้นล่างกว้าง 8 วา องค์พระเจดีย์เหนือฐานทักษิณ ชั้นที่ 3 ขึ้นไป หักพังหมดแล้ว ประมาณขนาดสูงเมื่อยังบริบูรณ์ เห็นจะราวเท่า ๆ กับ พระปรางค์ที่วัดราชบูรณะในกรุงเทพ ฯ
ระยะทางระหว่างตำบลสำคัญที่ได้จากเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินโดยสถลมารค ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปสักการบูชา พระเจดีย์ยุทธหัตถี เมื่อ พ.ศ. 2453 พอประมวลได้ดังนี้

นครปฐม ถึง กำแพงแสน ระยะทาง 568 เส้น หรือประมาณ 23 กิโลเมตร
กำแพงแสน ถึง บ้านบ่อสุพรรณ ระยะทาง 706 เส้น หรือประมาณ 28 กิโลเมตร
บ้านบ่อสุพรรณ ถึง บ้านตระพังกรุ ระยะทาง 125 เส้น หรือประมาณ 5 กิโลเมตร
บ้านตระพังกรุ ถึง บ้านดอนมะขาม ระยะทาง 274 เส้น หรือประมาณ 11 กิโลเมตร
บ้านดอนมะขาม ถึง บ้านจระเข้สามพันระยะทาง 411 เส้นหรือประมาณ 16 กิโลเมตร
บ้านจรเข้สามพัน ถึง อู่ทอง ระยะทาง 140 เส้น หรือประมาณ 6 กิโลเมตร
อู่ทอง ถึง บ้านโข้ง ระยะทาง 510 เส้น หรือประมาณ 20 กิโลเมตร
บ้านโข้ง ถึง ดอนเจดีย์ ระยะทาง 495 เส้น หรือประมาณ 20 กิโลเมตร

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของห้วงเวลานั้นได้ดังนี้
กองทัพพระมหาอุปราชา เดินทัพมาจนเข้าเขตเมืองสุพรรณบุรี แขวงบ้านพนมทวน หยุดตั้งกองทัพที่ตำบลตระพังกรุ แขวงเมืองสุพรรณบุรี แล้วให้กองกำลังทหารม้าออกลาดตระเวณหาข่าว
สมเด็จพระนเรศวร ยกกองทัพมาตั้งค่ายหลวงอยู่ที่หนองสาหร่าย ริมแม่น้ำท่าคอย เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ และทรงให้กองทัพพระยาศรีไสยณรงค์ กับพระราชฤทธานนท์ ที่ออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ลำน้ำท่าคอย เลื่อนออกไปขัดตาทัพที่ดอนระฆัง
พระยาศรีไสยณรงค์ แจ้งข่าวข้าศึกว่า กองทัพใหญ่ข้าศึกเคลื่อนที่พ้นบ้านจรเข้สามพันมาแล้ว เมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้กองทัพทั้งปวง เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น
วันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเครื่องพิชัยยุทธ ขณะนั้นได้ยินเสียงปืน จากการปะทะกันของทัพหน้าไทยกับทัพหน้าพม่า ได้ความว่าปะทะกันที่ดอนเผาข้าว เมื่อเวลาเช้าจึงมีรับสั่งให้ กองทัพหน้าล่าถอยลงมาโดยเร็ว ทรงให้สงบทัพหลวงรออยู่จน 11 นาฬิกา เห็นข้าศึกรุกไล่ลงมาไม่เป็นกระบวน จึงทรงให้สัญญาณกองทัพทั้งปวงยกออกตีข้าศึก
จากเหตุการณ์ดังกล่าว จะพบว่าพระมหาอุปราชาเคลื่อนทัพจากตระพังกรุ มาถึงบ้านจรเข้สามพันเมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ เป็นระยะทาง 685 เส้น หรือ 28 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 วัน ณ จุดนี้จะอยู่ห่างจากหนองสาหร่าย ที่ตั้งค่ายหลวงของไทย เป็นระยะทาง 1145 เส้น หรือ 46 กิโลเมตร สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้เตรียมตัวรบข้าศึกในวันรุ่งขึ้น
ในวันรุ่งขึ้นซึ่งข้าศึกจะเคลื่อนทัพมาได้อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งจะอยู่ห่างจากค่ายหลวงของไทยประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเดินทางอีกไม่เกิน 1 วัน
วันต่อมาคือวันแรม 2 ค่ำ เดือนยี่ เวลาเช้าได้ยินเสียงปืนจากการปะทะกัน ได้ความว่าปะทะกันที่ดอนเผาข้าว ซึ่งน่าจะอยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไม่เกิน 15 กิโลเมตร เพราะเป็นเวลาเช้าเสียงปืนใหญ่ได้ยินไปได้ไกล และพระองค์ทรงรออยู่จน 11 นาฬิกา ข้าศึกจึงรุกไล่ทัพหน้าของไทยมาถึงทัพหลวง
เมื่อสมเด็จพระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ ยกกำลังทั้งปวงเข้าตีข้าศึก ช้างศึกของทั้งสองพระองค์เร่งรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จนกองทัพตามไม่ทัน ผงคลีจากกองทัพทั้งสองฝ่ายที่สู้รบติดพันกันมาปลิวคลุ้งจนมืดมิด และเมื่อฝุ่นจางจึงทอดพระเนตรเห็น พระมหาอุปราชายืนอยู่ช้างอยู่ใต้ร่มไม้ ระยะทางที่ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ตลุยข้าศึกมานี้เป็นระยะทาง 100 เส้น หรือ 4 กิโลเมตร เนื่องจากพระเจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ห่างจากหนองสาหร่ายไปประมาณ 100 เส้น
เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยครั้งนั้น ก็สมจริงตามได้บันทึกกันไว้สืบต่อมาทุกประการ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติพ่อขุนรามคำเเหง









ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช



พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
ผลงาน


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้ ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี 1881 จึงเสด็จสวรรคต พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย องค์กลางทรงพระนามว่า “ขุนบาลเมือง” องค์เล็กทรงพระนามว่า “เจ้าราม” และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ 9 ปี ก็เสด็จสวรรคต พระราชอนุชา คือ เจ้ารามคำแหง จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้




การขยายอาณาจักร


เมื่อพระเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ในระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อันเป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมือง เป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยาเม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดนของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วนทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่ ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล และสุขุมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้งหลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้อันเป็นดินแดนของขอม และทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วยต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่าถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑาทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญในปี พ.ศ. 1829 กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งฑูตเข้ามาขอทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความสนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ. 1823 ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้ ใน พ.ศ. 1842 ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา) ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบเช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิดพระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบเสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคำแหงมิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะโท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทยในสมัยพระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขตตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น




การทำนุบำรุงบ้านเมือง


เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง ยังได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น ได้ส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม ถึงกับได้เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั่นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะได้ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา ในขณะพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดี พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรม แสดงความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตรทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศล ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้งก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน




การปกครอง


ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิดเช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออกประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ในด้านการปกครองเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มีอาการครบ 32 ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มีตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอกและเมืองประเทศราชสำหรับหัวเมืองชั้นใน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราช มีเมืองทุ่งยั้งบางยม สองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบป้องกันเมือง หัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้น ได้แก่ เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ แลเมืองศรีเทพ ส่วนเมืองประเทศราชนั้น เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปนอยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี แลเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย เมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และเวียงคำ




การวรรณคดี
นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 1826 กล่าวกันว่าได้ดัดแปลงมาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงในบรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมากขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้




การศาสนา
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงนั้น ปรากฎว่าศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก เช่นเมื่อมีคนไทยเดินทางไปยังเกาะลังกา เพื่อบวชเรียนตามลัทธิลังกาวงศ์ คือถือคติอย่างหินยาน มีพระไตรปิฎกเป็นภาษามคธ แล้วเข้ามาตั้งเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่เมืองนครธรรมราชนั้น พระเจ้ารามคำแหงยังได้เสร็จไปพบด้วยพระองค์เองแล้วนิมนต์พระภิกษุนั้นขึ้นมาตั้งให้เป็นสังฆราชกรุงสุโขทัย และได้บวชในคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาต่อมาตามลำดับ ต่อมาพระเจ้ารามคำแหงได้ทำไมตรีกับลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา แลนับแต่นั้นมาคนไทยจึงได้นับถือลัทธิลังกาวงศ์สืบมา




ศิลาจาลึก


ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้มีการจัดทำศิลาจารึกขึ้นเป็นครั้งแรกแลนับว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าพระองค์มิได้ทรงคิดอักษรไทยและทำศิลาจารึกไว้แล้ว คนไทยรุ่นต่อมาก็จะค้นคว้าหาหลักฐานในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ยากยิ่ง




หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง


เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบถึงความเป็นมาในการค้นพบหลักศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ข้าพเจ้าจึงขอคัดข้อความจากประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกสุโขทัยซึ่งศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เป็นผู้ชำระและแปลมาเสนอไว้ดังต่อไปนี้ เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช 1995 (พ.ศ.2376) เสด็จไปประพาสเมืองเหนือนมัสการเจดีย์ สถานต่างๆ ไปโดยลำดับประทับเมืองสุโขทัย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแผ่นศิลา(พระแท่นมนังคศิลา) แผ่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่เป็นที่นับถือกลังเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ให้เกิดการจับไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้วเสด็จตรงเข้าไปประทับแผ่น ณ ศิลานั้น ก็มิได้มีอันตราสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับวันสั่งให้ทำการชะลอลงมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาส ครั้งภายหลังเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสนาราม อนึ่งทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมรเสาหนึ่ง จารึกอักษรไทยโบราณเสาหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ที่นี่พบศิลาจารึกหลักนี้ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่คิดว่าจารึกนี้คงจะใกล้ๆ กับพระแท่นมนังคศิลา เพราในจารึกหลักนี้ด้านที่สามมีกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลา ซึ่งทำให้คิดว่า ศิลาจารึกหลักนี้จะได้ในเวลาฉลองพระแท่นนั้น เพราะฉะนั้นศิลาจารึกหลักนี้คงจะอยู่ใกล้ๆ กับพระแท่นนั้น คือ บนเนินปราสาทนั้นเอง พระแท่นนั้น เมื่อชะลอลงมากรุงเทพฯ แล้ว เดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ได้โปรดให้เอามาก่อแทนประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารพระคันธาราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่มาจนถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภชใน พ.ศ. 2545 จึงโปรดให้ย้ายไปทำเป็นแท่นเศวตฉัตรราชบัลลังก์ ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทปรากฎอยู่ในทุกวันนี้ ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ครั้นพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้ส่งหลักศิลานั้นมาด้วย ภายหลังเมื่อได้เสวยราชย์ พระเจ้าเกล้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศ เอาเข้าไปตั้งไว้ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามข้างด้านเหนือ พระอุโบสถหลังที่สองนับแต่ทางตะวันตก อยู่ ณ ที่นี้ต่อมาช้านานจนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายเอามารวมไว้ที่หอพระสมุด เรื่องหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ในหนังสือต่างๆ นั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายคำนำภาษาฝรั่งแล้ว ส่วนนักปราชญ์ไทยแต่ขึ้นนั้นได้เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเล่มที่ 6 หน้า 3574 ถึง 2577 ในหนังสือเรื่องเมืองสุโขทัย ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง และในประชุมพงศาวดารภาคที่หนึ่ง เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น ตอนที่ 2 ไม่ใช่คำว่า “กู” เลย ใช้ว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลา เมื่อ 1214 เมื่อสร้างพระมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาไลย เมื่อ ม.ศ. 1207 และที่สุดเรื่องประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1205 ตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดสุดท้าย เข้าใจว่าจารึกภายหลังปลายปี เพราะตัวอักษรไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และที่ 2 คือ ตัวพยัญชนะสั้นกว่าที่สระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง ตอนนี้ (ที่ 3 ) เป็นคำสรรเสริญและขอพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไปในครั้งกระโน้น ผู้แต่ศิลาจารึกนี้ เพื่อจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าเอง มิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งและจารึกไว้ มูลเหตุที่จารึกไว้คือเมื่อ ม.ศ. 1214 (พ.ศ.1835) ได้สะกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาก็คือ ในวันพระอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรมถ้าไม่ใช้วัดอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ประทับนั่งพระราชทานราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรทั้งปวงที่มาเฝ้า และเมื่อปี ม.ศ.1214 (พ.ศ.1835) นับเป็นปีที่สำคัญมากในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นปีแรกที่ได้แต่งตั้งราชฑูตไปเมืองจีน ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยที่มีอยู่ในหอสมุดนี้ เริ่มรวบรวมแต่ในรัชกาลที่ 3 มีจดหมายเหตุปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. 2176 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมือพิษณุโลก สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัยครั้งนั้นทอดพระเนตรเห็นศิลาจารึก 2 หลักคือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1 ) และศิลาจารึกภาษาเขมรของพระมหาธรรมราชาลิไทย (หลักที่ 4) กับแท่นมนังศิลาอยู่ที่เนินปราสาท ณ พระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ราษฎร เช่นสรวงบูชานับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสถามว่าของทั้งสามสิ่งนั้นเดิมอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เอามารวบรวมไว้ตรงนั้น ก็หาได้ความไม่ ชาวสุโขทัยทราบทูลว่าแต่ว่าเห็นรวบรวมอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาดูเห็นว่าเป็นของสำคัญจะทิ้งไว้เป็นอันตรายเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งมากรุงเทพฯเดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ทั้งสามสิ่ง พระแท่นมนังคศิลานั้นก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดฯ ให้ส่งหลักศิลาทั้งสองนั้นมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามอ่านหลักศิลาของพ่อขุนรามคำแหงเอง แล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พร้อมด้วยล่ามเขมรอ่านแปลหลักศิลาของพระธรรมราชาลิไทย ได้ความทราบเรื่องทั้งสองหลัก ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้ย้ายพระแท่นมนังคศิลามาก่อแท่นประดิษฐานไว้หน้าวิหารพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม... “ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) ได้พบศิลาจารึก (หลักที่ 5 ) ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวงแขวงจังหวัดอยุธยาหลักหนึ่ง แต่มีรอยถูกลบมีจนตัวอักษรลบเลือนโดยมาก แต่ยังมีเหลือพอทราบได้ว่าเป็นจารึกกรุงสุโขทัย สืบถามว่าใครได้มาแต่เมื่อใดก็หาได้ความไม่ พระยาโบราณฯ จึงได้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑ์สถาน กรมพระยาดำรงราชนุภาพเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือที่ยังเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึก ของพระธรรมราชาลิไทย คู่กับหลักภาษาเขมรซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหนึ่งหลัก ภาษาไทยหนึ่งหลัก เดิมคงตั้งคู่กันไว้ จึงรับสั่งให้ส่งหลักศิลาจารึกนั้นลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึก ทั้ง 3 หลักนั้นอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนย้ายมายังหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ. 2467

การทำอาหาร


การทำอาหาร


การตำ
การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกัน บางอย่างอาจตำเพื่อนำไปประกอบอาหาร และบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ


การยำ
การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์ และน้ำปรุงรส มาเคล้าเข้าด้วยกันเบาๆ จนให้รสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลักอยู่ ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ตัวอย่างอาหารประเภทยำคือ ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำเกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อย่าง ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯ อาหารประเภทพล่า ลาบ น้ำตก จัดอยู่ในอาหารประเภทยำเช่นกัน เพราะมีกรรมวิธีและรสชาติคล้ายกัน เช่น พล่ากุ้ง ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบเป็ด และเนื้อน้ำตก เป็นต้น


การแกง
การแกง หมายถึง อาหารน้ำซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียดนำมาละลายกับน้ำหรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย ตัวอย่างเช่น แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๒ รส คือ เค็มและหวาน เช่น แกงเผ็ดไก่ แกงเขียวหวานเนื้อ แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงหมูเทโพ ฯลฯ แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๒ รส คือ เค็มและหวาน เช่น แกงป่าเนื้อ แกงป่าไก่ แกงป่าปลา แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๓ รสคือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มผักกะเฉด แกงส้มผักรวม ฯลฯ แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มกะทิสายบัว ต้มข่าไก่ แกงเลียง ฯลฯ แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มส้ม ต้มโคล้ง ฯลฯ


การหลน
การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุก ด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม ตัวอย่างอาหาร เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ


การปิ้ง
การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง (ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน)

สิ่งเเวดล้อม




สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม (Environment) :::มนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยที่สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากมีผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็วและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหามลพิษ(Pollution) ในสิ่งแวดล้อม ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมหมายถึง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่รอบๆตัวเราทั้งที่มี ลักษณะกายภาพที่เห็นได้และไม่สามารถเห็นได้ ประเภทของสิ่งแวดล้อมจากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)


1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต


1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต(Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้


1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ


1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ


1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุดของโลกประกอบด้วยหินและดิน


2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์


2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment) แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้


2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด


2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น


สรุป สิ่งแวดล้อมหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมสามารถจำแนกได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การแบ่ง ได้แก่ จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม แบ่งตามลักษณะการเกิด และแบ่งตามการมีชีวิต เป็นต้น สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโลก หากสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมเป็นพิษก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสัตว์ได้ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการงานเกี่ยวด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งเป็นงานด้านที่มุ่งเน้นรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์รวมทั้งเป็นงานที่ป้องกันมิให้โรคเข้าสู่มนุษย์โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ไว้หลายขอบเขต ยกตัวอย่างเช่น การจัดหาน้ำสะอาด การสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางเสียง และอื่น ๆ เป็นต้นพฤติกรรม หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายใน และสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้า (Stimulus )หมายถึง คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ชนิด คือ


1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น


2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น กลไกการเกิดพฤติกรรม



1.เหตุจูงใจ


2. ตัวกระตุ้นปลดปล่อยอิทธิพล หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตนด้วยการกระทำการด้วยตนเอง หรือใช้จ้างวาน สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งจัด ระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียมผู้มีอิทธิพล หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตนด้วยการกระทำการด้วยตนเอง หรือใช้จ้างวาน สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งจัด ระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียมคำว่า "มนุษย์" แปลว่า ผู้มีใจสูง เอาความหมายตรงนี้ไว้ก่อนนะคะ แล้วคราวนี้เราก็วางตรงนี้ลงก่อน แล้วไปดูกันว่า ที่มาที่ไปของมนุษย์เป็นอย่างไร พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเอาไว้ว่า ในสังสารวัฏหรือวัฏสงสารอันยาวนาน เหลือจะกล่าวที่เราๆ เวียนเกิดเวียนตายเวียนว่ายกันอยู่นี้ มีที่ๆ เราเวียนเกิด เวียนตาย หรือพูดอีกแง่ก็คือมีที่ๆ เราเวียนไปวนมากันอยู่ทั้งหมด ๖ ที่ ๖ สถานะและ ๖ สภาพ เรียงจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ นรก-เปรตและอสุรกาย- มนุษย์-เทวดา-พรหม พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร นั้น ยาวนานสุดจะหา เบื้องต้นและเบี้องปลายได้ และทุกๆ ชีวิตที่เกิดมา ล้วนตกอยู่ใต้กฏธรรมชาติ อันเป็นสากล คือ ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย ทั้งยังต้อง เวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ และเวียนตาย เช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก พระพุทธองค์ยังทรงตรัสไว้อีกว่า สรรพชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏแห่งพระไตรลักษณ์ นั่นก็คือ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) - เป็นทุกข์ (ทุกขัง) - ไม่เป็นของใครทั้งสิ้นหรือ อีกนัยคือไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น (อนัตตา) เราเวียนเกิดเวียนตายใน ๖ ภพภูมินี้อย่างไร เราจะมาพูดแก่นๆ ที่สำคัญเท่านั้นนะคะว่าแล้วทำไมถึงว่าเราเวียนเกิด และเวียนตายแล้วๆ เล่าๆ หาที่สุดมิได้อยู่ใน ๖ ภพภูมิที่ว่ามานี้ ก่อนอื่น ขอสรุปย่อๆ ให้พอเห็นภาพแต่ละภพภูมิ ดังนี้ (ขอเล่าจากภพภูมิล่างสุดขึ้นบนสุด) นรกเป็นทุคติภูมิ นรกเป็นที่ๆ สรรพสัตว์มาเสวยผลจากกรรมไม่ดีกรรมใดกรรมหนึ่งหรือ หลายๆ กรรมที่ทำเอาไว้ ในนรกมีหลายขุมหลายชั้นแล้วแต่ประเภท ของกรรมที่ทำมาและแล้วแต่ความหนักเบาของกรรมที่ทำมา ในนรกส่วนใหญ่ สัตว์นรกไม่มีเวลาทำอย่างอื่นนอกจากเสวยทุกข์ เพียงอย่างเดียว เวลาในนรกนั้น ยาวนานนัก ท่านว่า สัตว์นรก ไปลงนรก ด้วยแรงโทสะ หรือด้วยกรรมที่เกิดจาก กิเลส ข้อ "โทสะ" นั่นเองค่ะ เปรตและอสุรกายเป็นทุคติภูมิ เปรตและอสุรกายนี่ โดยรูปธรรมท่านว่าคล้ายกัน เพียงแต่อสุรกาย ตัวใหญ่โตกว่ามาก จึงจัดอยู่ด้วยกัน เป็นที่ๆ สรรพสัตว์มาเสวย ผลของกรรมไม่ดีที่เคยกระทำอีกเช่นกัน เป็นภพภูมิที่มีแต่ความ ทุกข์ทรมาน แต่ก็เบาบางกว่าภูมินรก ท่านว่า เปรตและอสรุกายนี้ ไปเป็นเปรตและอสุรกายได้ ด้วยแรง โลภะ หรือด้วยกรรมที่เกิด จากกิเลส ข้อ "โลภะ" นั่นเอง สัตว์เดรัจฉานเป็นทุคติภูมิ สัตว์เดรัจฉาน เป็นหนึ่งในสองภพภูมิที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว จำแนกไว้ ที่เราสามารถพิสูจน์ได้เดี่ยวนี้ ปัจจุบันขณะนี้ ว่ามีจริง (หนึ่งคือภูมิมนุษย์หรือมนุสสภูมิ สองก็คือภูมิเดรัจฉานนี่เอง) สัตว์เดรัจฉาน ใกล้มนุษย์เข้ามาอีก มีชีวิตความเป็นอยู่ไปตาม สัญชาตญาณ มีทุกข์สุขแตกต่างกันไปตามแต่แรงบุญและกรรม ที่กระทำมาและกำลังส่งผลในภพชาติที่มาเกิดเป็นเดรัจฉานนี้ สัตว์เดรัจฉานเป็นภพภูมิที่เป็นทุคติภูมิ ในอัตภาพนี้ ไม่สามารถ ทำบุญทำทานหรือพัฒนาปัญญาได้ ท่านว่า ที่ไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉานได้นี้ ก็ด้วยแรงกิเลสข้อ "โมหะ" ค่ะ มนุษย์เป็นสุคติภูมิ ภูมิมนุษย์ ถือว่าเป็นสุคติภูมิ ในคติพุทธบอกว่า ที่เรามาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ก็เพราะอานิสงส์ที่เราเคยเป็นผู้อยู่ในศีลห้า กล่าวคือ เราเคยทำตัวอยู่ใน ศีลห้ามาแล้ว ไม่ว่าจะทราบหรือรู้จักคำว่า "ศีลห้า" หรือไม่ก็ตาม ภูมิมนุษย์นี้ ท่านว่า เป็นที่ๆ ประเสริฐที่สุด เหมาะสมที่สุด ที่จะทำกรรมดี ทำบุญ สร้างปัญญาบารมี ดังจะสังเกตว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็จะต้อง มาตรัสรู้ ณ ภูมิมนุษย์ นี่แหละ อย่างไรก็ตาม ภูมิมนุษย์นี่เองที่เปรียบ เหมือนทางสองแพร่ง ท่านว่า ภูมิที่จะทำดีหรือทำกรรมดีได้ยิ่งที่สุด ดีที่สุด ก็คือภูมิมนุษย์ ในทางกลับกัน ภูมิที่จะทำเลวที่สุดหรือทำกรรม เลวได้หนักที่สุด ก็คือภูมิมนุษย์เช่นกัน แล้วแต่ใครจะเลือกเอาว่า จะไปทางไหน (ด้วยการประกอบกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างที่ว่ามาแล้ว) ภูมิมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นชุมทาง เมื่อใช้กรรมในทุคติภูมิเสร็จ ก็มาเลือกเอาใหม่ว่าจะไปดีหรือไม่ดีก็ในคราวที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ และหากอยู่บนสวรรค์หรือพรหมโลกเสร็จ หมดอายุขัยเสวยบุญก็ ลงมาที่ภูมิมนุษย์นี้อีก เพื่อมากระทำกรรม เลือกทางของตัวเอง (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังเลือกก็ตาม) ว่าจะไปข้างบนหรือ ลงข้างล่างอีกต่อๆ ไป วนเวียนเวียนวนเช่นนี้ ไม่สิ้นสุด เทวภูมิเป็นสุคติภูมิ ณ สวรรค์ เป็นที่อยู่หรือสถิตย์ของเหล่าเทวดา ที่ไปสวรรค์ได้ก็ด้วย การสร้างกรรมดี การทำบุญทำทาน รักษาศีล สวรรค์เป็นสุคติภูมิ เป็นสถานที่เสวยผลจากกรรมดีที่กระทำมา บนสวรรค์ท่านว่าเป็น การเสวยสุข มีแต่ความสุข ปรารถนาอะไรก็ได้ดังปรารถนา ทุกอย่างเป็น "ทิพย์" ทว่า แม้จะสุข แต่ก็ไม่สามารถประกอบการ บุญหรือการทำทานได้เหมือนอย่างในภพภูมิมนุษย์ค่ะ เวลาในสวรรค์นั้น ยาวนานเหลือเกิน ท่านว่า ร้อยปีในมนุษย์ เท่ากับหนึ่งวันในสวรรค์ชั้นล่างๆ นะคะ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นอายุขัย เทวดาก็ต้องกลับมาเกิด เวียนว่ายตายเกิดอยู่ตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงบุญแรงกรรมที่กระทำไว้ในอดีตและแรงบุญแรงกรรม ที่กำลังสร้างกำลังทำต่อๆ ไป พรหมภูมิ เป็นสุคติภูมิ บนแดนของพระพรหมนี้ เป็นภพภูมิที่สูงสุดแล้วในสังสารวัฏ เป็นภพภูมิที่สุข สงบสงัด ดีและประเสริฐที่สุด ในภพภูมิทั้งหลาย ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดทั้ง ๖ จะมาเป็นพระพรหมได้ ก็ต้อง ประกอบพรหมวิหาร ๔ มาคือ เมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขา ผู้ที่จะไปจุติในภพภูมินี้ได้ ต้องบำเพ็ญสมาธิมาพอสมควร ขออนุญาตไม่พูดมาก เพราะไม่เกี่ยวกับหัวข้อของเราค่ะ พรหมภูมิจึงเป็นแดนที่สรรพสัตว์ที่คุณสมบัติครบตามที่กล่าวมา จะมาจุติและเสวยผลของกรรมดีต่างๆ เหล่านี้ที่กระทำและบำเพ็ญมา อายุของพระพรหมนั้นยาวนานนัก ท่านว่า ยาวนานเสียจนพระพรหม บางองค์บางชั้น ถึงกับลืมไปเลยว่าท่านเคยเวียนเกิดเวียนตายอยู่ ในสังสารวัฏเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ายาวนานอย่างไร ก็ย่อม มีวันสิ้นสุด เมื่อสิ้นอายุขัย ก็กลับลงมาเวียนว่ายตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงกรรมและกระแสบุญกรรมที่กระทำไว้และกำลังให้ผล ในขณะนั้นๆ ต่อไป สรุป จะเห็นได้ว่า ภูมิอื่นๆ นอกจากภูมิมนุษย์นั้น ล้วนเป็นภพภูมิแห่งการ เสวยผลทั้งสิ้น ทำไม่ดีและผลกรรมไม่ดีกำลังส่งผล ก็จะได้ลงไป เสวยทุกข์ในสามภูมิแน่นอน คือ ไม่นรก ก็เปรตอสุรกาย ก็สัตว์ เดรัจฉาน และถ้าหากผลกรรมดีกำลังส่งผล ก็จะได้ขึ้นไปเสวยผล แห่งกรรมดี ได้ไปเสวยสุข ณ ภูมิมนุษย์ หรือไม่ก็ในเทวภูมิ หรือไม่ก็ที่พรหมภูมิ จึงขอมองภูมิมนุษย์ว่าเป็นภูมิแห่งการ "สร้างเหตุ" คือ สร้างเหตุ ไปสุคติก็ได้ สร้างเหตุไปทุคติก็ได้ จะสร้างเหตุทั้งสองอย่างก็ ณ ตรงนี้ จะเลือกไปไหน ก็ ณ ตรงนี้ ทางสองแพร่งก็อยู่ตรงนี้นี่เอง ส่วนภูมิอื่นๆ ทั้งหมดนั้น เป็นสถานที่ เป็นช่วงเวลาแห่งการเสวยผลดีหรือชั่ว เท่านั้น คนเราอยู่ในสภาพแล้วล้อมที่ดีก็ย่อมเป็นคนดีไปด้วยแต่คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็พลอยให้ชีวิตและพฤติกรรมของตนไม่ดีไปด้วยตามสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ดังพุทธภาษิตที่ว่า คบคนเช่นไปย่อมเป็นเช่นนั้น