วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มารยาทไทย


มารยาทไทย


ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้
ความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๑ การแสดงความเคารพ
๒ การยืน
๓ การเดิน
๔ การนั่ง
๕ การนอน
๖ การรับของส่งของ
๗ การแสดงกิริยาอาการ
๘ การรับประทานอาหาร
๙ การให้และรับบริการ
๑๐ การทักทาย
๑๑ การสนทนา
๑๒ การใช้คำพูด
๑๓ การฟัง
๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร
๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

การยืน


การยืนโดยคำนึงถึงมารยาทจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
๑. การยืนเคารพธงชาติ
๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์
๔. การยืนในพิธีต่างๆ
๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี
๔. การยืนในพิธีต่างๆ

๔.๑ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย
เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป
ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศัยจบก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษหรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น
เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัย บรรเลง ให้ยืนตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธีของทางราชการ ผู้ที่เป็นทหารหรือข้าราชการพลเรือน ที่อยู่ในเครื่องแบบให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่กรณี
๔.๒ การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวางเครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ ไม่ว่าจะมีเพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย
๔.๓ การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธานที่กำลังเดินผ่าน ปล่อยมือไว้ข้างตัว
๔.๔การยืนฟังโอวาท ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นในกรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียวให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้งฉากกับลำตัว
๔.๕การยืนกล่าวคำปฏิญาณ โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า หันหน้าไปทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียน และกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้ของสถาบันนั้นๆ
๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี
๕.๑ การยืนรับคำสั่ง ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว

๕.๒ การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากันอยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามาหรืออยู่ร่วมสนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรง มือประสานกันอยู่ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย รอจนผู้ใหญ่นั่งลงแล้วจึงนั่งลง
๕.๓ การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป
๕.๔ การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือเกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือยืนบังผู้อื่นในการยืนดูมหรสพหรือขบวนแห่ เป็นต้น
๕.๕ การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะการยืนเช่นเดียวกับข้อ ๕.๔ แต่จะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ เรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่งกัน เช่นการยืนตามลำดับก่อนหลังในการเตรียมขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหารแบบช่วยตัวเอง
๕.๖ การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืนในลักษณะสุภาพ


๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์


๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่รับเสด็จฯถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ครื่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ

ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายหญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์ หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควรกระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นพยาบาล ที่แม้จะสวมหมวกให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า “ถอนสายบัว”ตามแบบข้าราชการฝ่ายในสำนักพระราชวัง


ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้
ความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๑ การแสดงความเคารพ
๒ การยืน
๓ การเดิน
๔ การนั่ง
๕ การนอน
๖ การรับของส่งของ
๗ การแสดงกิริยาอาการ
๘ การรับประทานอาหาร
๙ การให้และรับบริการ
๑๐ การทักทาย
๑๑ การสนทนา
๑๒ การใช้คำพูด
๑๓ การฟัง
๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร
๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น