วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย มีเขตแดนที่คลุมเครือโดยเฉพาะเขตต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป ทวีปเอเชียกับแอฟริกาบรรจบกันที่ใดที่หนึ่งใกล้กับคลองสุเอซในอียิปต์ แนวเขตแดนระหว่างเอเชียกับยุโรปผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์ ทะเลมาร์มะรา ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลดำ แนวสันเขาบริเวณเทือกเขาคอเคซัส (บางคนว่าผ่านทะลุแอ่งคูมา-มานิช) ทะเลแคสเปียน แม่น้ำยูรัล (บางคนว่าผ่านแม่น้ำเอมบา) และเทือกเขายูรัล ถึงหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย เอเชียมีประชากรราวร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค (ถ้ารวมประเทศรัสเซียที่อยู่ในทวีปเอเชียจะเป็น 6 ภูมิภาค) ภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก ภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่คือเอเชียกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุด

ลักษณะภูมิประเทศ
เขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ระหว่างแม่น้ำอ็อบกับแม่น้ำเยนีเซย์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ที่ราบไซบีเรียตะวันตก มีลำน้ำสาขาซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะที่ปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ลำน้ำนี้จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง การสัญจรทางน้ำหรือการคมนาคมทางน้ำจึงไม่สะดวก ลำน้ำและพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดังนั้น บริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก
เขตภูเขาและที่ราบสูง (หินใหม่)
กระจายตัวออกไป 3 ทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบางส่วนยาวไปถึงประเทศตุรกีซึ่งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย
เขตที่ราบสูงเก่า
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
ที่ราบสูงเก่าของทวีปเอเชียมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นแผ่นดินหินของเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ ประกอบด้วยที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Plateau) ในคาบสมุทรอินเดีย และที่ราบสูงอาหรับ (Arabian Plateau) ในคาบสมุทรอาหรับ ลักษณะของที่ราบสูงทั้งสองมีดังนี้
ที่ราบสูงเดกกัน เกิดจากการที่แผ่นดินส่วนหนึ่งจากทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อนตัวมาชนกับแผ่นทวีปเอเชียจนทำให้เกิดเป็นภูเขาขึ้นมาทางด้านแนวชนที่เกิดขึ้น จากตะกอนทะเลทำให้เกิดเป็นเทือกเขาหินสูงตระหง่านที่ชื่อ "หิมาลัย"
ที่ราบสูงอาหรับ เกิดจากการที่หินใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแนวหุบเหวลึกจนกลายเป็นทะเลแดงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังปรากฏภูมิประเทศแบบทะเลทรายในคาบสมุทรอาหรับ โดยเฉพาะในดินแดนของประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ทวีปเอเชียมีที่ราบลุ่มแม่น้ำหลายสาย ซึ่งแม่น้ำบางสาย เช่น แม่น้ำหวางเหอ (แม่น้ำเหลือง) แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ปัจจุบัน แม่น้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่สำคัญและเป็นเมืองใหญ่ ดินบริเวณนี้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำพัดพาไปทับถมจึงเป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่
แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำหวางเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำจือ (ซีเจียง) ในประเทศจีน
แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม แม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า เป็นต้น
แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียใต้ ได้แก่ แม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย แม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถาน แม่น้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศ เป็นต้น
แม่น้ำสายสำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น