วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้านนี้ ความจริง มีเนื้อหาค่อนข้างยาว หรือบางเรื่องก็ยาวมาก ขนาดหมอลำ ลำทั้งคืนยันสว่าง ยังไม่จบ นั่นแหละ หากเล่าให้ละเอียดได้ ก็เป็นการดีทีเดียว แต่หากละเอียดไม่ได้ ก็คงเป็นเพียงเรื่องย่อ เพื่อให้รู้ว่า นิทานเื่รื่องนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร
นิทานพื้นบ้าน หรือนิทานชาวบ้าน เป็นสาขาสำคัญของคติชาวบ้าน เป็นที่สนใจของนักปราชญ์ นักศึกษาวิชามานุษยวิทยาและวิชาการอื่นๆ เป็นอันมาก การเล่านิทานเป็นเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน (และยังมีนิทานเล่าว่า แม้เทวดาก็ชอบฟังนิทาน ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันจะถูกเทวดาแช่ง เพราะเวลากลางวันเทวดาต้องไปเฝ้า พระอิศวร ไม่มีโอกาสไปชุมนุมกันฟังนิทานที่มนุษย์เล่านั้นด้วย) ถึงแม้ว่าเรื่องในนิทานจะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของโลก แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมในการเล่านิทานของมนุษย์เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด นั่นก็คือ มนุษย์เราทั่วไปต้องการเครื่องบันเทิงใจในยามว่างงานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นเหตุผลเนื่องมาแต่ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ และเป็นต้นเหตุให้มีนิทานขึ้นมากมาย

[แก้ไข] ลักษณะเฉพาะของนิทานพื้นบ้าน
จะต้องเป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ใช้ภาษาชาวบ้านทั่วไป
เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน กฏว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม เป็นแต่รู้ว่าเคยได้ยินได้ฟังมา หรือเขาเล่าว่าหรือบรรพบุรุษเป็นผู้เล่าให้ฟัง

[แก้ไข] ประเภทของนิทาน
มีผู้ศึกษานิทานและพยายามจัดหมวดหมู่หรือแบ่งแยกเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ซึ่งแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
แบ่งนิทานตามเขตพื้นที่ คือ พบนิทานที่ถิ่นใดก็เป็นของถิ่นนั้น เช่น เขตอินเดีย เขตประเทศนับถือศาสนาอิสลาม เขตชนชาติยิวในเอเซียไมเนอร์ เป็นต้น
แบ่งนิทานตามแบบของนิทาน แบ่งออกได้ ดังนี้
นิทานปรัมปรา
นิทานท้องถิ่น แยกย่อยเป็น
นิทานอธิบายสิ่งต่าง ๆ
นิทานเกี่ยวกับความเชื่อ
นิทานวีรบุรุษ
นิทานนักบวช
นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้
นิทานสอนใจ
เทพนิยาย
นิทานสัตว์ แบ่งเป็น
นิทานสอนคติธรรม
นิทานเล่าไม่รู้จบ
นิทานตลก
แบ่งนิทานตามชนิดของนิทาน เป็นการแบ่งตามแบบที่ 2 ที่แบ่งให้ย่อยแต่ละชนิดละเอียดลงไปอีก
แบ่งนิทานตาม สารัตถะ ของนิทาน หมายถึงการพิจารณาที่ "แก่น" (element) ของนิทาน เป็นหลัก ในการจัดหมวดหมู่นิทาน การแบ่งโดยใช้ "แก่น" ของนิทานนี้จะแบ่งได้ละเอียดที่สุดในที่นี้จะกล่าวถึงนิทานชาวบ้านตามแบบที่ 2 เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้และเข้าใจได้ดี นิทานก้อม หมายถึง นิทานขนาดสั้นหรือเป็นตอนๆ เป็นนิทานพื้นบ้านของชาวอีสาน
นิทานพื้นบ้านอีสาน และเรื่องราวท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ที่เล่าต่อกันมา อาจมีบันทึกใน คัมภีร์ใบลาน ที่อยู่ตามวัดต่าง ๆ พอหาได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนด้วยตัว อักษรธรรม หรือตัวไทยน้อย
ตัวอย่างนิทานพื้นบ้านที่เรารู้จักกันดี
แก้วหน้าม้า

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีหญิงสาวหน้าตาเป็นม้า ชื่อ แก้วมณี เหตุที่ชื่อนี้ เมื่อก่อนคลอด แม่ของนาง ฝันเห็นเทวดานำดวงแก้วมณีมาให้ จึงตั้งชื่อนี้ แก้วมณีเป็นหญิงมีน้ำใจโอบอ้อมอารี เป็นมิตรกับทุกคน ครั้งหนึ่งเมื่อนางไปเลี้ยงควายมีว่าวของพระปิ่นทองลอยมาตกต่อหน้านาง พระปิ่นทองตามมาเอาคืน อย่างไรก็ไม่ได้ จนกระทั่งพระปิ่นทอง หลุดปากออกว่าจะรับนางเป็นเมียใจจริงพระปิ่นทองเกลียดนางแก้วยิ่งนัก นางจึงคืนให้ และสั่งต่อมาจะมารับภายใน 3 วัน นางคอยแล้วคอยเล่าก็มิเห็นแม้เงา พ่อกับแม่จึงจะเข้าวังหลวง ไปทวงสัญญา พระนางนันทา แม่ของพระโอรสปิ่นทองเห็นดีจึงให้เข้าวังมา ด้วยวอทอง ต่อมาไม่นานท้าวภูวดล พ่อของพระปิ่นทองซึ่งเกลียดนางแก้วมณีมาก มีคำสั่งให้นางนั้นไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในวัง มิอย่างนั้น จะถูกประหารและไม่ได้แต่งงานกับปิ่นทอง เพราะรักพระปิ่นทองนางจึงจำใจไป หนทางนั้นลำบากมาก จนไปถึงอาศรมฤาษี ฤาษีสอนมนต์ถอดหน้าม้าเป็นหญิงสวยได้ พร้อมอาวุฒมีดอีโต้กับเรือเหาะ และชี้ทางไปเขาพระสุเมรุ และนางก็นำกลับวัง แต่สายไป พระปิ่นทองได้เดินทางไปแต่งงานกับ พระธิดาธัศมาลี แห่งเมืองโรมวิถี นางจึงถอดหน้าม้าตามไป และได้เสียกับพระปิ่นทอง ระหว่างทางกลับผ่านเมืองยักษ์ แก้วแปลงกายเป็นชายสู้กับยักษ์จนตาย และยกนาง สร้อยสุวรรณ และจันทร์สุดา เป็นเมียพระปิ่นทองและกลับเมือง นางแก้วมีลูกชื่อ ปิ่นแก้ว พระปิ่นทองจึงรับรักนางแก้วมณีตั้งแต่นั้นมา
*** นิทานอีสานฉบับนี้ สอนให้รู้ว่า อย่าดูคนแต่เพียงภายนอก รูปร่างหน้าตา ให้ดูลึกถึงจิตใจ
อุทัยเทวี ( นางพญาขี้คันคาก )

ณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง ต่อมาไม่นานนจางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย เจ้าชายสิทธิราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน
ข้อคิด คติเตือนใจ
คนเราหมั่นทำความดีไว้เยอะๆ เป็นสมบัติไว้ใช้ในชาติต่อไป
ความแค้นไม่เคยจบเคยสิ้น ฉะนั้นเราคนไทย อย่าไปมีอคติกับใคร
ปลาร้า ยังคงความแซบอยู่ทุกยุคทุกสมัย
คู่กันแล้วไม่คล้วกัน
ปลาบู่ทอง

ชายหาปลาคนหนึ่งมีเมีย 2 คน เมียหลวงมีลูกสาวชื่อเอื้อย เมียน้อยมีลูกสาวชื่ออ้าย และอี่ วันหนึ่งชายหาปลาจับได้ปลาบู่ทอง เมียหลวงถูกสามีฆ่าตาย ไปเกิดเป็นปลาบู่ทองหามาเอื้อยลูกสาวของตน แต่ก็ถูกเมียน้อย และลูก ๆ กลั่นแกล้งจับมากิน เอื้อยได้เกล็ดปลาไปปลูกเป็นต้นมะเขือก็ถูกถอนไปกินอีก จึงนำเม็ดมะเขือมาปลูกเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง ท้าวพรหมทัตเสด็จมาพบและได้พบกับเอื้อยทรงพอพระทัยนางมากจึงแต่งตั้งให้เป็นมเหสี ต่อมาถูกฆ่าตายไปเกิดเป็นนกแขกเต้าฤาษีได้ช่วยไว้และชุบให้เกิดเป็นดังเดิม เอื้อยจึงได้กลับเข้ามาอยู่ในวังหลวง ส่วนอ้ายซึ่งปลอมตัวเป็นเอื้อยถูกสั่งให้ประหารชีวิต
และนอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้านอีกมากมาย เช่น เรื่องนางผมหอม, ทุ่งกุลาร้องไห้, ผาแดงนางไอ่ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น