วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การทำอาหาร


การทำอาหาร


การตำ
การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกัน บางอย่างอาจตำเพื่อนำไปประกอบอาหาร และบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ


การยำ
การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์ และน้ำปรุงรส มาเคล้าเข้าด้วยกันเบาๆ จนให้รสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลักอยู่ ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ตัวอย่างอาหารประเภทยำคือ ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำเกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อย่าง ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯ อาหารประเภทพล่า ลาบ น้ำตก จัดอยู่ในอาหารประเภทยำเช่นกัน เพราะมีกรรมวิธีและรสชาติคล้ายกัน เช่น พล่ากุ้ง ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบเป็ด และเนื้อน้ำตก เป็นต้น


การแกง
การแกง หมายถึง อาหารน้ำซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียดนำมาละลายกับน้ำหรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย ตัวอย่างเช่น แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๒ รส คือ เค็มและหวาน เช่น แกงเผ็ดไก่ แกงเขียวหวานเนื้อ แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงหมูเทโพ ฯลฯ แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๒ รส คือ เค็มและหวาน เช่น แกงป่าเนื้อ แกงป่าไก่ แกงป่าปลา แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๓ รสคือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มผักกะเฉด แกงส้มผักรวม ฯลฯ แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มกะทิสายบัว ต้มข่าไก่ แกงเลียง ฯลฯ แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มส้ม ต้มโคล้ง ฯลฯ


การหลน
การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุก ด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม ตัวอย่างอาหาร เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ


การปิ้ง
การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง (ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น